Page 285 - kpiebook66030
P. 285
สรุปการประชุมวิชาการ 2
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
การบริหารงานจากส่วนกลางในระดับมหภาค ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และ
สิ่งแวดล้อม โดยจัดตั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ (自然资源部) ขึ้นมารับผิดชอบภาระงาน
รวมทั้งรับโอนงานต่างๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงทรัพยากรธรณี กรมสมุทรศาสตร์
กรมสารนิเทศสำรวจธรณีวิทยา และจัดทำแผนที่มาอยู่ในความรับผิดชอบ และจัดตั้งกระทรวง
สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ (生态环境部) เพื่อรับผิดชอบภาระงานและรับโอนงานต่างๆ ของ
กระทรวงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จึงเห็นได้ว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนจึงมีอำนาจสูงสุดในการจัดการ
ทางการเมือง และการจัดการสิ่งแวดล้อมจะสำเร็จได้ต้องเริ่มจากพรรคคอมมิวนิสต์อย่างมี
นัยสำคัญ
2.4 การมีส่วนร่วมของประชาชน
นโยบายของรัฐเกิดจากข้อเรียกร้องของประชาชนอเมริกัน โดยกฎหมายอากาศ
สะอาดของสหรัฐฯ มีจุดเริ่มต้นมาจากมลพิษทางอากาศในเขตพื้นที่มหานคร เช่น เมืองโมบาย
ในรัฐอลาบามา (Alabama) เมืองลอสแอนเจลิส นิวยอร์ค และเขตเมืองใหญ่หลายแห่ง ในช่วง
ศตวรรษที่ 1970 มลพิษทางอากาศได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของชาวอเมริกัน
สร้างความอึดอัดและความไม่พอใจ ส่งผลให้ประชาชนสร้างแรงกดดันทางการเมืองอย่าง
ต่อเนื่อง ในที่สุดรัฐบาลต้องรีบทำแก้ไขปรับปรุงกฎหมายอากาศสะอาดอย่างต่อเนื่อง เช่น
ปี 1990 รัฐบาลกลางสหรัฐฯ ประกาศใช้กฎหมายอากาศสะอาดครอบคลุมทั้งประเทศ
ส่งผลให้รัฐต่าง ๆ ต้องดำเนินการควบคุมมลพิษ โดยประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนา
ดำเนินแผนงาน รวมถึงกฎระเบียบในการบำบัดอากาศเสีย และต้องได้รับการอนุมัติจาก EPA
ในทางตรงกันข้าม จุดเริ่มต้นของการจัดการมลพิษทางอากาศของจีนเกิดจาก
ประชาคมโลกที่แสดงความกังวลเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศในประเทศจีนตั้งแต่ปลายทศวรรษที่
1990 ในปี 2008 สถานทูตสหรัฐฯ ในกรุงปักกิ่งเริ่มเผยแพร่ผลการตรวจสอบค่าความเข้มข้น
ของคุณภาพอากาศใน Twitter และเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ
ซึ่งไม่สอดคล้องกับรายงานคุณภาพอากาศของรัฐบาลจีน จึงทำให้เกิดการวิจารณ์อย่าง
กว้างขวาง และทำให้รัฐบาลจีนเสียหน้าเป็นอย่างมาก ในปี 2013 มลพิษทางอากาศที่สูงที่สุด
ได้สร้างความกังวลมากขึ้น (Chen, Ebenstein, Greenstone, & Li, 2013) รัฐบาลจีน
จึงไม่อาจนิ่งเฉยได้อีกต่อไป ขณะที่ชาวจีนส่วนใหญ่ถูกจำกัดสิทธิ และเสรีภาพในการมีส่วนร่วม
ทางการเมือง จึงไม่เข้มแข็งมากพอในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐ และมาตรการต่างๆ เช่น
การหยุดเผาถ่านในครัวเรือ การขับรถในวันคู่-วันคี่ตามทะเบียนรถ กลับไม่ประสบความสำเร็จ
เพราะประชาชนปฏิบัติตามน้อยมาก ทำให้จีนไม่สามารถแก้ไขปัญหาคุณภาพอากาศได้ด้วย
ประชาชน (Chetpayark, 2020) บทความที่ผ่านการพิจารณา