Page 281 - kpiebook66030
P. 281
สรุปการประชุมวิชาการ 2 1
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
มากเกินมาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ มนุษย์จะมีอายุสั้นลงเกือบ 2 ปี
(Greenstone & Fan, 2018)
การวิจัยด้านสังคมศาสตร์เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศยังมีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งส่วนใหญ่
ให้ความสำคัญกับเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และรายได้ในประเทศกำลังพัฒนา การกลายเป็นเมือง
(Urbanization) และการทำให้เป็นอุตสาหกรรม (Industrialization) ที่ผลต่อมลพิษทางอากาศ
อย่างมีนัยสำคัญ เช่น การกลายเป็นเมือง ภาคบริการ การเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นปัจจัย
สำคัญต่อการปล่อยมลพิษทางอากาศและปริมาณ PM2.5 (Ji, Yao, & Long, 2018; Xu & Lin,
2016) ผลิตภัณฑ์รวมในประเทศ (GDP) ของจีนในปี 2017 มีมูลค่าสูงถึง 404 ล้านล้านบาท
แต่ปัญหา PM2.5 จากโรงงานอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้าถ่านหิน (Bloomberg Law, 2018;
Cohen et al., 2017) ในด้านนิติศาสตร์ อำนาจ วงศ์บัณฑิต (2562) พบว่ากฎหมายของ
ประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ แต่กฎหมายเหล่านี้ไม่มีความเข้มงวดเท่ากับของ
สหภาพยุโรป (อำนาจ วงศ์บัณฑิต, 2562) ในทางรัฐศาสตร์ ลดาวัลย์ ไข่คำ (2564) พบว่า
มลพิษทางอากาศเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายของรัฐที่ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม และโครงสร้าง
การเมืองที่แตกต่างกันนำมาซึ่งความสำเร็จและความล้มเหลวของการจัดการมลพิษทางอากาศ
โดยรัฐรวมศูนย์อำนาจมีแนวโน้มประสบความสำเร็จเร็วกว่าประเทศที่เป็นประชาธิปไตย
(ลดาวัลย์ ไข่คำ, 2564)
ระเบียบวิธีวิจัย
วิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary research) ซึ่งเป็นเครื่องมือวิจัยที่สังคม
ในเชิงคุณภาพ ผ่านการรวบรวมข้อมูล การตีความและการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางสังคม
งานเอกสารอธิบายความเป็นมา และบริบทของงานวิจัย ที่ช่วยให้นักวิจัยเห็นแนวโน้ม
การเปลี่ยนแปลง การพัฒนา การตรวจสอบข้อค้นพบที่มาจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ และเป็น
วิธีการรวบรวมข้อมูลที่ได้ผลที่สุดในสถานการณ์ที่นักวิจัยไม่สามารถเข้าไปสังเกตเหตุการณ์ได้
ด้วยข้อจำกัดต่าง ๆ การสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและหลากหลาย ทำให้นักวิจัย
ลดอคติที่อาจเกิดขึ้นได้ และช่วยยืนยันข้อมูลให้น่าเชื่อถือยิ่งขึ้น (Bowen, 2009)
การรวบรวมข้อมูล
การวิจัยนี้ได้รวบรวมเอกสาร บทความวิจัย บทความวิชาการที่ได้้รับการเผยแพร่แล้ว
ได้แก่ (1) เอกสารระดับปฐมภูมิ (Primary Document) คือ รัฐธรรมนูญสาธารณรัฐอเมริกา
และสาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐบัญญัติ แผนยุทธศาสตร์ชาติ กฎกระทรวง และประกาศ
คณะรัฐมนตรี และ (2) เอกสารระดับทุติยภูมิ (Secondary Document) เช่น บทความวิจัย
งานวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ และเอกสารจากหน่วยงานที่ไม่ใช่ภาครัฐ เช่น ข้อมูล บทความที่ผ่านการพิจารณา
จากองค์การอนามัยโลก (WHO), กรีนพีซ อินเตอร์เนชันเนล (Greenpeace International)
และดัชนีคุณภาพของอากาศ (Air Quality Index: AQI)