Page 277 - kpiebook66030
P. 277

สรุปการประชุมวิชาการ   2
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
                                                                                ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย


             บทนำ


                   อากาศเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต แต่มลพิษทางอากาศเป็นภัยคุกคามรูปแบบใหม่ต่อ
             ชีวิตมนุษย์ และไม่สามารถแยกออกจากการเมืองได้ รัฐบาลมีบทบาทสำคัญในรับมือกับ
             ภัยคุกคามนี้ ในการพิจารณาข้อถกเถียงสำคัญหรือโต้แย้งทางการเมือง (Political argument)
             ที่เกี่ยวกับ “สิ่งแวดล้อม” แนวคิดแบบเสรีนิยมประชาธิปไตยมักพิจารณาภัยคุกคามด้าน
             สิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นเชิงพื้นที่ซึ่งต้องคำนึงถึงระดับการเมืองที่หลากหลายตั้งแต่ท้องถิ่น

             ไปจนถึงระดับโลก แต่เมื่อมองในลักษณะเชิงพื้นที่เช่นนี้ทำให้นักสิ่งแวดล้อมในโลกเสรีนิยม
             ประชาธิปไตยมักถูกมองว่าเป็นเพียงตัวแทนของกลุ่มผลประโยชน์หรือระบบพหุสังคม
             ที่มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายในการเมืองแบบประชาธิปไตยเท่านั้น (Dryzek, Honig, &

             Phillips, 2009)

                   ในทางกลับกัน การรับมือกับวิกฤติสิ่งแวดล้อมต้องอาศัยนักปกครองที่มีความรู้เฉพาะทาง
             เช่น ความรู้วิทยาศาสตร์ที่มักไม่เปิดพื้นที่ให้แก่ข้อสงสัยหรือข้อถกเถียง หรืออาจไปไกลถึงขั้น
             เรียกร้องระบอบการปกครองแบบเผด็จการ เพราะวิกฤติสิ่งแวดล้อมเกี่ยวข้องกับความเป็น

             ความตายของมนุษย์ จึงต้องการรับมืออย่างเร่งด่วนและเป็นหนึ่งเดียว มีข้อสังเกตว่ารัฐ-ชาติ
             ที่เน้นการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจรับมือกับความท้าทายรูปแบบใหม่ได้ประสบความสำเร็จ
             “เร็วกว่า” ประเทศที่เป็นประชาธิปไตย เพราะความแตกต่างอันหลากหลาย การรับฟัง
             ความเห็นจากประชาชน และกระบวนการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจต้องอาศัยกระบวนการ

             ทางการเมืองอันซับซ้อนและใช้เวลายาวนานกว่ารัฐประชาธิปไตยจะเริ่มรับมือ ปัญหา
             สิ่งแวดล้อม เหล่านั้นได้ลุกลามและแก้ไขยากขึ้นแล้ว (Vincent, 2013)

                   มลพิษทางอากาศส่งผลกระทบสำคัญต่อระบบนิเวศ ทัศนวิสัย ชั้นบรรยากาศ
             การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสาธารณสุขซึ่งบั่นทอนสุขภาพของประชาชนโดยตรง

             (Zhu et al., 2018) นับตั้งแต่ในปี 1997 สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำในการกำหนดมาตรฐาน
             คุณภาพอากาศสิ่งแวดล้อมและกำหนดความเข้มข้นสูงสุดของ PM2.5 ต่อมาประเทศอื่น ๆ
             และองค์กรระหว่างประเทศพยายามกำหนดความเข้มข้นของ PM2.5 แต่เนื่องจากแต่ละ
             ประเทศมีบริบทสังคมเมือง สภาพเศรษฐกิจสังคม ความพร้อมทางเทคโนโลยีและการเงิน

             และลักษณะนิสัยของประชาชนที่แตกต่างกัน ทำให้มาตรฐาน PM2.5 ที่บังคับใช้แตกต่างกัน
             โดยประเทศที่พัฒนาแล้วจะกำหนดค่ามาตรฐานของ PM2.5 ไว้อย่างเข้มงวด คือ
             12 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (µg/m ) ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาจะกำหนดมาตรฐาน
                                                 3
             ไว้ต่ำเพราะยังต้องอาศัยการพัฒนาทางเศรษฐกิจและพึ่งพิงอุตสาหกรรมหนัก คือ 50 µg/m
                                                                                              3
             (ศิริมา ปัญญาเมธีกุล & ธงชัย พรรณสวัสดิ์, 2562)

                   องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) เผยว่าประชากรโลก                  บทความที่ผ่านการพิจารณา
             ร้อยละ 90 ได้สูดอากาศที่ปนเปื้อนมลพิษเข้าไปทุกวัน โดยเฉพาะประชากรที่อาศัยอยู่ใน
   272   273   274   275   276   277   278   279   280   281   282