Page 280 - kpiebook66030
P. 280
สรุปการประชุมวิชาการ
2 0 สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนเท่านั้น ซึ่งสามารถแบ่งได้ตามขนาด เช่น PM10 คืออนุภาค
ที่สูดดมได้ มีเส้นผ่านศูนย์กลางโดยทั่วไปหรือเล็กกว่า 10 ไมโครเมตร และ PM2.5 คือ
อนุภาคที่สูดดมได้ มีเส้นผ่านศูนย์กลางโดยทั่วไปหรือเล็กกว่า 2.5 ไมโครเมตร ซึ่งมีขนาดเล็ก
กว่าเส้นผมมนุษย์ 30 เท่า (EPA, 2019)
องค์การอนามัยโลกกำหนดค่ามาตรฐานของ PM2.5 ด้วย 2 มาตรฐานหลัก คือ
3
1. มาตรฐาน PM2.5 เฉลี่ยราย 24 ชั่วโมงต้องไม่เกิน 25 µg/m (ต้องไม่เกิน
ค่ามาตรฐานนี้ ไม่มากกว่า 3 วันต่อปี) ซึ่งเป็นค่าบ่งชี้อันตรายในลักษณะกึ่งเฉียบพลัน คือเมื่อ
ได้รับสารอันตรายแล้ว จะเกิดผลเสียต่อร่างกายทันที
2. มาตรฐาน PM2.5 เฉลี่ยรายปีต้องไม่เกิน 10 µg/m ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้อันตราย
3
ในลักษณะที่ต้องได้รับสารติดต่อกันเป็นเวลานาน หลายสิบปี จึงจะเกิดผลเสียต่อสุขภาพและ
เกิดเป็นโรคเรื้อรัง (WHO, 2021; ชลทิศ อุไรฤกษ์กุล, 2562)
วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศจากองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ
วิศวกรรมศาสตร์ให้ความสำคัญกับการตรวจวัดค่ามาตรฐาน เพื่อความสมดุลในระบบ
ชั้นบรรยากาศโลก โดยพบว่า PM2.5 ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสภาพภูมิอากาศ
การกระจายและการดูดซับรังสีจากดวงอาทิตย์ในบรรยากาศโลกและการเปลี่ยนแปลงทาง
ภูมิอากาศโลก (Climate change) การศึกษาของ Hu และ Liu พบว่า ความเข้มข้นของ
PM2.5 ลดพลังงานแสงอาทิตย์ที่ส่องมายังพื้นผิวโลก ส่งผลให้อุณหภูมิพื้นดินลดลงแต่อุณหภูมิ
ในชั้นบรรยากาศสูงขึ้น มีผลต่อการก่อตัวของเมฆ ปริมาณน้ำฝน และการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศ (Hu & Liu, 2017) หากมี PM2.5 มากเกินไปจะทำให้ฝนตกน้อยลง (Liu et al.,
2020) และฝนมีความเป็นกรดมากขึ้น เช่น การศึกษาของ Li and Zhang (2013)
พบว่า PM2.5 ในเมืองซีอานมีสภาพเป็นกรดซึ่งสอดคล้องกับค่า pH ของฝนที่ตกในเมืองนี้
ในปี ค.ศ. 2011 (Li & Zhang, 2013)
การวิจัยด้านสาธารณสุขเน้นผลกระทบของมลพิษต่อคุณภาพชีวิตของประชากร
โดยพบว่า PM2.5 เป็นต้นเหตุสำคัญของโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบทางเดินหายใจ
โรคปอด โรคหอบหืด โรคมะเร็ง และโรคอื่น ๆ เช่น โรคกระดูกพรุน (Prada et al., 2017)
บทความที่ผ่านการพิจารณา ซึมเศร้า และความผิดปกติทางจิต (Carrington, 2020; Jia et al., 2018) ที่สำคัญคือ มลพิษ
คุณภาพอากาศยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต อารมณ์หดหู่ง่าย ควบคุมอารมณ์ยาก มีอาการ
ทางอากาศมีผลต่ออายุขัยและการตายของมนุษย์ กล่าวคือ หาก PM2.5 เพิ่งขึ้นทุก ๆ
10 µg/m จะทำให้ชีวิตขัยของมนุษย์ลดลงโดยเฉลี่ย 0.98 ปี และหากมีมลพิษทางอากาศ
3