Page 278 - kpiebook66030
P. 278

สรุปการประชุมวิชาการ
     2   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
       ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย


           ประเทศที่มีรายได้ปานกลางและต่ำในทวีปเอเชียและแอฟริกา (WHO, 2018) งานวิจัยชิ้นนี้
           จึงต้องการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองกับการรับมือกับความความท้าทายรูปแบบใหม่
           และเปรียบเทียบเครื่องมือที่รัฐใช้ในการรับมือกับมลพิษทางอากาศของประเทศสหรัฐอเมริกา
           และประเทศจีน ท้ายที่สุด งานวิจัยนี้ต้องการชี้ให้เห็นว่าระบอบการเมืองส่งผลต่อการจัดการ

           ปัญหามลพิษทางอากาศอย่างมีนัยสำคัญ และนำเสนอข้อแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อไป
           ในอนาคต



           วัตถุประสงค์

                 งานวิจัยชิ้นนี้ ต้องการ

                 1.  ศึกษาการรับมือกับมลพิษทางอากาศในฐานะภัยคุกคามรูปแบบใหม่ในประเทศ
           ที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย และระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์


                 2.  เปรียบเทียบเครื่องมือที่รัฐใช้ในการรับมือกับมลพิษทางอากาศสหรัฐอเมริกาและจีน



           นิยามศัพท์
             1.  ภัยคุกคามรูปแบบใหม่


                 การศึกษารัฐศาสตร์ให้ความสนใจแนวคิด “ความมั่นคง” (Security) และ “ภัยคุกคาม”
           (Threat) มาอย่างยาวนาน “ความมั่นคงรูปแบบเดิม” (traditional Security) ผูกติดอยู่กับ

           หลักความมั่นคงแห่งรัฐ (State security) ตามแนวคิดสัจนิยม (Realism) ที่มุ่งเน้นไปที่
           ความมั่นคงของชาติ (National security) และผลประโยชน์แห่งชาติ (National interests)
           เพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามแบบเดิม (Traditional Threat) ได้แก่ สงครามและสันติภาพ
           ระหว่างรัฐ รัฐจึงเป็นจุดศูนย์กลางและมีความชอบธรรมในการเครื่องมือทางทหาร การทูต และ
           ปฏิบัติการต่าง ๆ ในการทำสงครามหลายรูปแบบ


                 อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การขาดแคลนและแย่งชิงทรัพยากร
           โรคระบาด ภัยธรรมชาติต่างๆ การย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ การค้ามนุษย์ การค้ายาเสพติด
           อาชญากรรมข้ามชาติ และอาชญากรรมไซเบอร์กลายเป็น“ภัยคุกคามรูปแบบใหม่” (Non-

           traditional threats) ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับความปกติสุขและความอยู่รอดของประชาชนและรัฐ
           (กิตติ ประเสริฐสุข, อนุสรณ์ ชัยอักษรเวช, & จินตวัฒน์ ศิริรัตน์, 2563) ภัยเหล่านี้
    บทความที่ผ่านการพิจารณา   มีลักษณะเด่น คือ ไม่เกี่ยวข้องกับทหารโดยตรง และมีลักษณะเป็นพลวัต เป็นภัยคุกคาม

           ข้ามชาติ (Transnational) ที่ไม่ใช่ความขัดแย้งหรือการแข่งขันระหว่างรัฐอีกต่อไป แต่มีรูปแบบ

           ที่หลากหลายที่สามารถสั่นคลอนความมั่นคงทางสังคมและการเมือง (Searle, 2020) และ
           ความมั่นคงเกี่ยวกับอธิปไตยของรัฐเท่านั้น แต่หมายถึงประชาชนทั้งในระดับบุคคลและระดับสังคม
           เช่น ความอยู่รอด ความเป็นอยู่ที่ดี และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Caballero-Anthony, 2016)
   273   274   275   276   277   278   279   280   281   282   283