Page 20 - kpiebook66022
P. 20
สถาบันพระปกเกล้า
King Prajadhipok’s Institute
โดยใช้หลักการและค่านิยมพื้นฐานของรัฐสภาในระบอบประชาธิปไตยประกอบเป็นกรอบแนวคิด และ
อาศัยแนวปฏิบัติที่ดีสำาหรับ “รัฐสภาตามระบอบประชาธิปไตย” มาเป็นแนวในการออกแบบคู่มือและ
วางเกณฑ์มาตรฐานเพื่อใช้ในการประเมินการดำาเนินงานของรัฐสภา ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่
4
1) การเป็นตัวแทนของประชาชน 2) การทำาหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ 3) การตรวจสอบฝ่ายบริหาร
4) ความโปร่งใสและการเข้าถึงได้ 5) ความสำานึกรับผิดชอบ และ 6) การมีส่วนร่วมในนโยบายระหว่าง
ประเทศ ดังจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป
2.1.1 การเป็นตัวแทนปวงชนของรัฐสภา 5
เกณฑ์มาตรฐานแรกของรัฐสภาภายใต้ระบอบประชาธิปไตย คือ การเป็นตัวแทนปวงชน
ของรัฐสภา ซึ่งจะต้องสะท้อนถึงเจตจำานงของประชาชน (popular will) โดยดูจากการเลือกผู้แทน
และพรรคการเมืองของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง โดยผ่านระบบการเลือกตั้ง (Electoral system) และ
ความหลากหลายทางสังคม (social diversity) ในรูปของความหลากหลายทางเพศ ภาษา ศาสนา
เชื้อชาติ และอื่น ๆ หากรัฐสภาขาดความหลากหลายทางสังคมแล้ว จะทำาให้เกิดช่องโหว่หรือทอดทิ้งกลุ่มชน
หรือชุมชนหรือกลุ่มด้อยโอกาสออกไป และอาจส่งผลให้เกิดความไร้เสถียรภาพของระบบการเมืองและ
ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนได้
ทั้งนี้ “การเป็นตัวแทนปวงชนของรัฐสภาตามระบอบประชาธิปไตย” พิจารณาจาก
1.1. การเป็นองค์ประกอบของรัฐสภา (Composition of parliament) การเป็นองค์ประกอบของรัฐสภา (Composition of parliament) ซึ่งเป็นผลลัพธ์
มาจากกระบวนการเลือกตั้ง (Electoral Process) ซึ่งจะต้องเสริมสร้างให้เกิดการเป็นตัวแทนปวงชน
และความหลากหลายทางสังคม โดยต้องมีกฎและระเบียบขั้นตอนการเลือกตั้งเพื่อเอื้อให้สมาชิกรัฐสภา
เป็นตัวแทนของปวงชน เอื้อให้รัฐสภาประกอบด้วยผู้แทนกลุ่มชนที่หลากหลาย มีตัวแทนของชนกลุ่มน้อย
และผู้ด้อยโอกาส
2. ข้อบังคับรัฐสภาที่เป็นธรรมและไม่แบ่งแยก (Fair and inclusive parliamentary ข้อบังคับรัฐสภาที่เป็นธรรมและไม่แบ่งแยก (Fair and inclusive parliamentary
procedures)rocedures) ซึ่งเปิดโอกาสให้สมาชิกรัฐสภาทุกคนแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในงานของรัฐสภา
p
อย่างเสมอภาค รวมทั้งได้รับการพัฒนาการเรียนรู้เพื่อการทำาหน้าที่เป็นผู้แทนในรัฐสภา
2.1.2 การตรวจสอบฝ่ายบริหาร 6
หน้าที่ตรวจสอบการดำาเนินงานหลักของรัฐบาล รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ ก็คือ
(1) การตรวจสอบนโยบายและการดำาเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล (2) การตรวจสอบงบประมาณรายจ่าย
และการควบคุมการเงิน สำาหรับช่องทางและรูปแบบการตรวจสอบการทำางานของรัฐบาล พอสรุปได้ดังนี้
4 สรุปจาก จาก สถาบันการเมืองกับการพัฒนาประชาธิปไตย : ศึกษากรณีการดำาเนินงานของรัฐสภาตามเกณฑ์และ
ตัวชี้วัดของสหภาพรัฐสภา (Inter-Parliamentary Union : โดย สถาบันพระปกเกล้า,2555, กรุงเทพ : สถาบันพระปกเกล้า,
ลิขสิทธิ์ 2555, (น. 2-15 – 2-61)
5 เพิ่งอ้าง, (น. 2-16.)
6 แหล่งเดิม, (น. 2-30 - 2-36)
6