Page 165 - kpiebook66022
P. 165

การประเมินผลการดำาเนินงานของรัฐสภา
                                                  โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)

            ไม่ทราบว่ารัฐสภามีส่วนริเริ่มในการกำาหนดนโยบายต่างประเทศ  อีกทั้งประชาชนไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วม
            ในการเสนอนโยบายหรือกฎหมายด้านต่างประเทศ เพราะนโยบายต่างประเทศถูกมองว่าเป็นเรื่องเฉพาะ
            ของฝ่ายบริหารเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีความคิดเห็นว่ารัฐสภาไทยมีส่วนร่วมน้อยมากในเวทีโลก
            สนใจแต่ปัญหาระดับท้องถิ่นมากกว่าปัญหาระดับประเทศหรือระดับโลก แสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอ
            ของรัฐสภาในเวทีต่างประเทศ  ดังนั้น ต้องทบทวนบทบาทของรัฐสภาในเวทีโลกให้มากขึ้น  ในด้านการมีส่วนร่วม
            ในการสร้างพันธะด้านกฎหมายและการเงินระหว่างประเทศ (I2)  มีคะแนนเฉลี่ย  3.00  กลุ่มตัวอย่างมีประเด็น

            ที่น่าสนใจเรื่องของ การตรวจสอบและติดตามการสร้างพันธะด้านกฎหมายและการเงินระหว่างประเทศ
            ของรัฐบาลที่รัฐสภาควรมีบทบาทและให้ความสำาคัญในเรื่องนี้มากขึ้น โดยเฉพาะนโยบายหรือมาตรการใด
            ที่ได้ดำาเนินการไปแล้วนั้น จะต้องมีการรายงานผลให้ประชาชนทราบด้วย  ในด้านการสร้างความร่วมมือ
            ระหว่างรัฐสภาไทยและรัฐสภานานาชาติ (I5) คะแนนที่ 2.98 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีข้อเสนอให้
            รัฐสภามีความร่วมมือกับรัฐสภานานาชาติทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกเพื่อแสดงท่าทีของประเทศไทย
            ในเวทีโลก รวมทั้งการทำาหน้าที่เชิงการทูตรัฐสภา เช่น การปฏิบัติตามธรรมเนียมปฏิบัติ กฎ ระเบียบ
            ขององค์การรัฐสภาต่างประเทศ  การประชุมรัฐสภาระหว่างประเทศ ความร่วมมือด้านประชาธิปไตย
            สิทธิมนุษยชน แรงงานระหว่างประเทศ ตลอดจนการทำางานร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านในเชิงระหว่าง
            ประเทศให้มีประสิทธิผลมากขึ้น ด้านการได้มาซึ่งข้อมูลและการมีส่วนร่วมในนโยบายระหว่างประเทศ

            ระดับทวิภาคีและพหุภาคี (I1) เฉลี่ยที่  2.96 ความเห็นที่ไม่ค่อยสะท้อนด้านการมีส่วนร่วมในนโยบาย
            ระหว่างประเทศเท่าใดนัก เนื่องจากเป็นเรื่องที่ไกลตัวผู้เข้าร่วมเวทีและเป็นเพียงการให้ข้อคิดเห็น
            ในมุมมองส่วนตัวหรือสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นเท่านั้น ด้านบทบาทของรัฐสภาในการติดตามและ
            ตรวจสอบนโยบายและการปฏิบัติตามพันธะหรือข้อตกลงด้านความช่วยเหลือของประเทศ (I3)
            คะแนนเฉลี่ย 2.90 กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า การดำาเนินการของรัฐสภาในประเด็นการตรวจสอบนโยบาย
            อาจไม่ได้มีมาตรการที่เห็นได้ชัดเจนนัก เนื่องจากมีการตรวจสอบน้อยมาก อีกทั้งไม่มีการคัดค้าน
            นโยบายต่างประเทศของฝ่ายบริหารด้วย ในด้านบทบาทของรัฐสภาในการส่งเสริมการแก้ไขปัญหา

            ความขัดแย้งภายในประเทศและต่างประเทศ (I4) คะแนน 2.88 โดยส่วนใหญ่มีความเห็นไปในทิศทาง
            เดียวกันว่ารัฐสภาควรเข้าใจปัญหาและเชื่อมโยงถึงผลกระทบระหว่างประเทศที่จะเกิดขึ้นประเทศไทย
            เช่น ข้อขัดแย้งเรื่องอาณาบริเวณดินแดนหรือพื้นที่พิพาทระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น และ
            องค์ประกอบย่อยที่ได้คะแนนน้อยที่สุดในด้านนี้คือ การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านนโยบาย
            ระหว่างประเทศ (I7) มีคะแนนที่ 2.68 กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าแม้รัฐบาลจะประสบปัญหาเรื่องนโยบาย
            ต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน แต่ประชาชนไม่มีช่องทาง
            ในการสื่อสารความเห็นดังกล่าวผ่านรัฐสภาไปถึงรัฐบาล และรัฐสภาให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม
            ในนโยบายต่างประเทศน้อยมากและนโยบายต่างประเทศบางอย่างไม่ได้ประกาศให้ประชาชนรับรู้ ทำาให้
            รัฐสภาและประชาชนเองไม่สามารถตรวจสอบได้รวมทั้งไม่เกิด การถ่วงดุลอำานาจระหว่างรัฐบาลและ

            รัฐสภา




                                                                                  151
   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169   170