Page 152 - kpiebook66022
P. 152
สถาบันพระปกเกล้า
King Prajadhipok’s Institute
โอกาส ในการมีส่วนร่วมเสนอข้อมูลและความคิดเห็นในการพัฒนาและแก้ไขกฎหมาย (T6)
ในเรื่องโอกาส ในการมีส่วนร่วมเสนอข้อมูลและความคิดเห็นในการพัฒนา และแก้ไข
กฎหมาย ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและการสัมมนากลุ่มย่อย (focus group) ส่วนใหญ่มองว่า
ประชาชนมีโอกาสในการมีส่วนร่วมเสนอข้อมูลและความคิดเห็นในการพัฒนาและแก้ไขกฎหมาย
น้อยมากถึงน้อยที่สุด การจะไปนำาเสนอข้อมูลหรือความคิดเห็นได้ส่วนใหญ่ต้องอยู่ในชั้นกรรมาธิการ
ถึงแม้ว่ารัฐสภาดูเหมือนว่าจะเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการออกกฎหมาย แต่ในข้อเท็จจริงนั้น
แทบไม่ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมได้จริง ทั้ง ๆ ที่กฎหมายต่าง ๆ ที่ออกมานั้นล้วนมี
ผลกระทบต่อประชาชนทั้งสิ้น และถึงแม้ว่ารัฐสภาจะมีช่องทางการติดต่อหลากหลายช่องทาง แต่ยังขาด
การเชื่อมโยงการเข้าถึงของประชาชนหรือภาคส่วนต่าง ๆ ที่มีส่วนได้เสีย และมีข้อเสนอแนะว่ารัฐสภา
ควรจัดให้มีช่องทางให้ประชาชนได้ยื่นชื่อเสนอกฎหมายหลังจากผู้ริเริ่มกฎหมายได้นำาเสนอแล้ว และให้มี
การจัดระบบให้ดีเพื่อไม่ให้มีรายชื่อซ้ำาซ้อน หรือจัดให้มีการลงประชามติเบื้องต้นในประเด็นกฎหมายนั้น ๆ
ลดความเป็นระบบราชการ เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงได้ง่าย และปรับเปลี่ยนการทำางานเป็นแบบ
ล่างขึ้นบน (bottom up)
ความโปร่งใสและปลอดอิทธิพลของนักธุรกิจและกลุ่มผลประโยชน์ (T7)
ในเรื่องความโปร่งใสและปลอดอิทธิพลของนักธุรกิจและกลุ่มผลประโยชน์ ข้อมูลจาก
การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและการสัมมนากลุ่มย่อย (focus group) ส่วนใหญ่มองว่ามีน้อยถึงน้อยที่สุด
และมีตัวอย่างมากมายที่แสดงให้เห็นว่าสมาชิกรัฐสภา (ส.ส./ส.ว.) รวมทั้งรัฐบาลอยู่ภายใต้อิทธิพลของ
นักธุรกิจ อีกทั้งการตรวจสอบจริยธรรมของสมาชิกรัฐสภาก็ไม่มีประสิทธิภาพ และสมาชิกรัฐสภามีจิตสำานึก
ต่อส่วนรวมน้อย
การดึงดูดให้เยาวชนสนใจงานของรัฐสภา (T8)
ในเรื่องการดึงดูดให้เยาวชนสนใจงานของรัฐสภา ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ
และการสัมมนากลุ่มย่อย (focus group) ส่วนใหญ่มองว่าในปัจจุบันนี้ เด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่
สนใจการเมืองมากขึ้น แต่รัฐสภาอาจไม่ได้ดึงดูดให้เยาวชนมาสนใจงานรัฐสถาได้ มีข้อเสนอแนะว่าควรมี
การเปิดพื้นที่ เปิดโอกาสให้เยาวชนได้แสดงความคิดเห็นมากยิ่งขึ้น และรัฐสภาควรที่จะมีศูนย์การเรียนรู้
ด้านการเมืองหรือประชาธิปไตย จัดไว้เป็นพื้นที่ส่วนหน้าที่จะเป็นพิพิธภัณฑ์ ให้เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้
ให้รัฐสภาจัดกิจกรรมส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น
4.2.5 ด้านความสำานึกรับผิดชอบของรัฐสภา
ความสำานึกรับผิดชอบของรัฐสภาต่อประชาชนทั่วไป (A1)
ในด้านความสำานึกรับผิดชอบของรัฐสภาต่อประชาชนทั่วไป ข้อมูลจากการสัมภาษณ์
ผู้ทรงคุณวุฒิและการสัมมนากลุ่มย่อย (focus group) ส่วนใหญ่มองว่ามีน้อยถึงไม่มีเลย ส่วนมากสมาชิก
รัฐสภาจะให้ความช่วยเหลือแต่กับประชาชนในเขตเลือกตั้งของตนเอง นักการเมืองไม่ได้คิดถึงภาพรวม
ไม่เกิดการเชื่อมโยงไปถึงการเมืองในระดับชาติ จิตสำานึกความรับผิดชอบควรเป็นเรื่องขององค์กร และ
มีข้อเสนอแนะว่าควรจัดทำารายชื่อของผู้ช่วยดำาเนินงาน ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ชำานาญการของ ส.ส. และ ส.ว.
138