Page 149 - kpiebook66022
P. 149

การประเมินผลการดำาเนินงานของรัฐสภา
                                                  โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)

            ในการเผยแพร่กิจกรรมของรัฐสภาและรับทราบปัญหาของประชาชน  ทำาให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างรัฐสภา
            และประชาชนมากขึ้น
                    ระบบและขั้นตอนการพิจารณาและตรวจสอบงบประมาณประจำาปี (O2)
                     องค์ประกอบย่อยในประเด็นระบบและขั้นตอนการพิจารณาและตรวจสอบงบประมาณ
            ประจำาปี ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและการสัมมนากลุ่มย่อย (focus group) พบว่ามีประเด็น

            ที่น่าสนใจในเรื่องของระบบและขั้นตอนการพิจารณาและตรวจสอบงบประมาณประจำาปีว่า รัฐสภาควร
            มีอำานาจในการตัดสินใจ เช่น การยับยั้งการใช้จ่ายที่เกินความจำาเป็นของงบประมาณประจำาปีในแต่ละปี
            รายละเอียดของแต่ละโครงการของรัฐที่ ฝ่ายบริหารไม่ชัดเจนเท่าใดนัก ทำาให้การจัดสรรงบประมาณไม่มี
            ประสิทธิภาพมากเท่าที่ควร ประชาชนไม่ได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินในแต่ละปี
                     มีข้อเสนอว่าการจัดสรรงบประมาณประจำาปีจะต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน รัฐสภาควรต้อง
            ร่วมกับฝ่ายบริหารเพื่อจัดทำาแผนให้ชัดเจนว่าต้องการพัฒนาด้านใดเป็นการเฉพาะ ต้องมีการแยกโครงการ
            และงบประมาณให้ชัดเจน มีการชี้แจงรายละเอียด ให้ประชาชนรับรู้  เช่น การถ่ายทอดสดเกี่ยวกับการ
            อภิปรายเรื่องงบประมาณ เห็นควรให้หน่วยงานต่าง ๆ มีการทำางานแบบบูรณาการมากขึ้น กำาหนด
            กฎหมายและมาตรการที่ชัดเจนไปสู่หน่วยงานระดับปฏิบัติการ รวมทั้งตรวจสอบและติดตามการบริหาร
            งบประมาณแผ่นดิน รวมไปถึงการประเมินผลการใช้งบประมาณอย่างต่อเนื่อง

                    กระบวนการในการกลั่นกรองและตรวจสอบการทำาหน้าที่ของฝายบริหารและองค์กร
            อิสระ (O3)
                     ประเด็นกระบวนการในการกลั่นกรองและตรวจสอบการทำาหน้าที่ของฝ่ายบริหารและ
            องค์กรอิสระ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและการสัมมนากลุ่มย่อย (focus group) พบว่ารัฐสภา
            ควรทำาหน้าที่ตรวจสอบเพื่อการถ่วงดุลและเสนอให้มีการตรวจสอบคุณสมบัติในการแต่งตั้งรัฐมนตรี
            บุคคลในองค์กรอิสระให้มากขึ้น มีข้อเสนอว่ารัฐสภา ประธานสภาและสมาชิกสภาควรมีอำานาจในการแต่งตั้ง
            บุคคลเข้าไปทำาหน้าที่ในองค์กรอิสระ และจะต้องมีกระบวนการที่ชัดเจน โปร่งใสและการรับฟังความเห็น

            จากประชาชน นอกจากนี้เห็นควรให้มีการอภิปรายตรวจสอบเป็นการสาธารณะ รวมทั้งเสนอให้มี
            การแก้กฎหมายเพื่อให้รัฐสภามีอำานาจในการตรวจสอบการทำาหน้าที่ของฝ่ายบริหารและองค์กรอิสระ
            ได้มากขึ้น
                     ความเป็นอิสระและเอกเทศในการทำางานของรัฐสภาจากฝายบริหาร (O4)
                     ประเด็นความเป็นอิสระและเอกเทศในการทำางานของรัฐสภาจากฝ่ายบริหาร ข้อมูลจาก
            การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและการสัมมนากลุ่มย่อย (focus group) พบว่าโดยส่วนใหญ่มีความเห็นไป
            ในทิศทางเดียวกันว่ารัฐสภาควรเป็นอิสระจากฝ่ายบริหารในการปฏิบัติหน้าที่ที่อยู่ในเขตอำานาจของตน
            อาทิ การบริหารงบประมาณ บุคลากร การกำาหนดวาระการประชุม ตารางเวลาการประชุม รวมทั้ง
            การแต่งตั้งบุคลากรที่ทำางานเพื่อสนับสนุนรัฐสภา







                                                                                  135
   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154