Page 170 - kpiebook66003
P. 170
169
ในส่วนกระบวนการที่ใช้ ทำาให้นักเรียนได้ระดมความคิดเห็น สะท้อน
มุมมองของตนเองและฝึกการแสดงความคิดเห็นลงมือทำาจริง ตลอดจน
กระบวนการสุดท้ายได้มีการนำาเสนอผลงาน ก็ทำาให้นักเรียนได้ฝึกทักษะ
ในด้านนี้ด้วย
สำาหรับปัจจัยความสำาเร็จได้แก่ การมีส่วนร่วม ผู้บริหารและบุคลากร
ครูในโรงเรียนที่ให้ความสำาคัญ และมีการสนับสนุนจากภายนอก อย่างไรก็ดี
โครงการซื่อตรงที่จัดขึ้นใน 12 โรงเรียนยังคงมีความท้าทายบางประการ
ได้แก่ ระยะเวลาการทำากิจกรรมที่ไม่มากนักหรือขาดความต่อเนื่อง อีกทั้ง
สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในทางวัตถุนิยม ทำาให้นักเรียนบางคนตั้งคำาถาม
ถึงความจำาเป็นในการทำาความดีหรือความซื่อตรง ซึ่งควรมีการปรับปรุง
ในประเด็นดังกล่าวเพื่อให้ความซื่อตรงในโรงเรียนนั้นเกิดผลได้จริง
สำาหรับการพัฒนาตัวแบบ หลังจากที่ได้มีการถอดบทเรียนจาก
ทั้ง 12 โรงเรียนแล้ว คณะผู้วิจัยพัฒนาจากแนวคิด ผลการถอดบทเรียน
และผลจากการสนทนากลุ่มผู้บริหารโรงเรียน ทำาให้ได้แนวทางปรับปรุง
ตัวแบบการเสริมสร้างความซื่อตรงสำาหรับเยาวชนในยุคดิจิทัล โดยในสาระ
การบรรยายเรื่องความซื่อตรง และกระบวนการพัฒนาแผนเรื่องความซื่อตรง
คณะผู้วิจัยในฐานะวิทยากรกระบวนการได้สอดแทรกให้นักเรียนที่เข้าร่วม
กิจกรรมได้มีการคิดค้นลักษณะกิจกรรมที่เสริมสร้างความซื่อตรงในยุคดิจิทัล
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสถานการณ์โควิดที่จำาเป็นต้องมีการจัดการเรียน
การสอนออนไลน์ ในส่วนของกระบวนการเอง คณะผู้วิจัยได้มีการปรับปรุง
กระบวนการเพื่อลดการเขียนบัตรคำาและลดความซับซ้อนของกระบวนการลง
เนื่องจากตัวแบบที่พัฒนาขึ้นใหม่ใช้กระบวนการผ่านช่องทางออนไลน์เป็นหลัก
ซึ่งจำาเป็นต้องมีการฝึกอบรมครูในโรงเรียนเพื่อทำาหน้าที่เป็นผู้ช่วยวิทยากร
ด้วย อย่างไรก็ดี ภายใต้ตัวแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้นนี้ ลักษณะกิจกรรมที่นักเรียน
คิดค้นขึ้นมานั้นยังคงมีความคล้ายคลึงกับโครงการเสริมสร้างความซื่อตรง