Page 321 - kpiebook65024
P. 321
320 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีในรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย
การพิจารณาเกี่ยวกับผลทางกฎหมายของการกระท�าการของรัฐโดยผู้แทนตามกฎหมาย
ต่อกรณีสิทธิหน้าที่ ตลอดจนความรับผิดทางกฎหมายที่เกิดขึ้นจากการด�าเนินการ
นั้น ๆ ในเวลาต่อมา ซึ่งการพิจารณาประเด็นข้างต้นจ�าเป็นต้องพิจารณาบนพื้นฐาน
หลักการที่ส�าคัญทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องประกอบกัน
โดยที่ “รัฐ” ในฐานะที่เป็นผู้ใช้อ�านาจปกครองสามารถด�าเนินการใด ๆ ภายใต้
เงื่อนไขที่กฎหมายก�าหนดเท่านั้น การด�าเนินการต่าง ๆ ของรัฐจึงอยู่ภายใต้สมมุติฐาน
ว่ามีกฎหมายได้ให้อ�านาจกระท�าการในลักษณะดังกล่าวแก่รัฐเอาไว้เพื่อให้รัฐสามารถ
ใช้อ�านาจหน้าที่ของตนเองด�าเนินการที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะได้อย่างคล่องตัว
อันส่งผลให้การกระท�าของรัฐชอบด้วยกฎหมายเสมอ เว้นแต่จะมีการเพิกถอนใน
ภายหลัง อย่างไรก็ดี หลักการดังกล่าวแม้ส่งผลดีต่อการท�าหน้าที่จัดท�าบริการสาธารณะ
ของรัฐ แต่หากรัฐด�าเนินการใดที่อาจส่งผลกระทบต่อประชาชนภายใต้อ�านาจหน้าที่
ที่กฎหมายก�าหนด กรณีดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดความเสียหายและกระทบต่อสิทธิเสรีภาพ
ของประชาชนอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้การใช้
อ�านาจของรัฐส่งผลกระทบต่อประชาชน กฎหมายจึงได้ก�าหนดเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบ
ความชอบด้วยกฎหมายของการด�าเนินการของรัฐในลักษณะต่าง ๆ ขึ้น โดยเครื่องมือ
ดังกล่าวปรากฏในรูปแบบของกลไกทางกฎหมายต่าง ๆ หลายรูปแบบภายใต้เงื่อนไข
การตรวจสอบที่แตกต่างกัน ทั้งด้านองค์กร กระบวนการ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจน
ผลทางกฎหมายของการควบคุมตรวจสอบดังกล่าว ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้