Page 287 - kpiebook65021
P. 287

โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน:  กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี





                        5) พัฒนาระบบบริหารจัดการการท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐาน ตลอดจนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่เชื่อมโยง
                 กับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่

                        ข้อเสนอร่างข้อเสนอยุทธศาสตร์จังหวัดจันทบุรีที่คณะผู้วิจัยเสนอ เป็นไปตามข้อค้นพบจากการ

                 สัมภาษณ์ในประเด็นอนาคตที่อยากเห็น ซึ่งวิเคราะห์ได้ว่ามีประเด็นที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ 5 ปีของจังหวัด
                 จันทบุรี แต่แตกต่างกันในล าดับความส าคัญและรายละเอียด จากข้อค้นพบแสดงให้เห็นว่าภาคประชาชนให้

                 ความส าคัญกับเรื่องโครงสร้างพื้นฐานมากที่สุด ซึ่งในแผนยุทธศาสตร์ 5 ปีที่มีอยู่นั้น เรื่องโครงสร้างพื้นฐานเป็น
                 ประเด็นสนับสนุนในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ขณะที่มุมมองจากภาคประชาชน
                 นั้น ไม่ได้เสนอการพัฒนาให้โครงสร้างพื้นฐานเป็นประโยชน์เชิงเศรษฐกิจเท่านั้น แต่โครงสร้างพื้นฐานเป็น

                 ปัจจัยส าคัญในการเข้าถึงบริการและการอ านวยความสะดวก ตลอดจนการประกอบอาชีพในระดับครัวเรือน
                 เป็นไปได้ว่าโครงสร้างพื้นฐานในภาพรวมหรือในระดับจังหวัดอาจมีความพร้อมแต่ยังไม่ทั่วถึงในบางพื้นที่ การ

                 รวบรวมความต้องการและเสนอเป็นร่างยุทธศาสตร์นี้ถือว่ามีความสอดคล้องกับการพัฒนานโยบายสาธารณะ
                 แบบล่างขึ้นบน (ถวิลวดี บุรีกุล, ทศพล สมพงษ์, และสมเกียรติ นากระโทก, 2563) ซึ่งสามารถน าไปเป็นชุด
                 ข้อมูลหนึ่งประกอบการจัดท าแผนของคณะกรรมการบริหารจังหวัดแบบบูรณาการได้


                        ทั้งนี้ คณะผู้วิจัยมีข้อค้นพบที่อาจเป็นเงื่อนไขต่อการใช้สิทธิและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาข้อเสนอ
                 ทิศทางการพัฒนา ตั้งแต่ความห่วงกังวลในการเมืองระดับประเทศ ที่ความมั่นคงทางการเมืองระดับประเทศ

                 อาจส่งผลต่อการพัฒนาจังหวัดด้วย มาจนถึงหน่วยงานอาจขาดการบูรณาการและการวางแผนงานท าให้ทิศ
                 ทางการพัฒนาจังหวัดจันทบุรีถูกก าหนดโดยคนนอกพื้นที่ ขาดการประสานแผนงานระหว่างท้องถิ่นกับรัฐบาล

                 เพื่อการพัฒนาในภาพรวม การก าหนดนโยบายที่ไม่ชัดเจน และไม่ตรงความต้องการของประชาชน ตลอดจน
                 ความห่วงกังวลว่าจะมีการกระจายงบประมาณที่ไม่เท่าเทียม และงบประมาณในการพัฒนาไม่ต่อเนื่องไม่

                 เพียงพอทั่วถึงทุกชุมชน เงื่อนไขดังกล่าว คณะผู้วิจัยเห็นว่าเป็นความท้าทายด้านการบริหารปกครอง
                 (Governance) ซึ่งการตัดสินใจและบริหารงานภาครัฐของแต่ละประเทศต่างก็เผชิญภาวะเช่นนี้ ดังเช่นรัฐบาล

                 ยูเครนที่ต้องเผชิญความเปลี่ยนแปลงการด าเนินนโยบายสาธารณะจากรัฐเป็นผู้ด าเนินการฝ่ายเดียวมาเป็น

                 แบบสนทนากับภาคประชาชน (Lima, 2019; Chaltseva and Neprytska, 2020)
                        การด าเนินงานเพื่อไปให้ถึงยังเป้าหมายยุทธศาสตร์นั้น หน่วยงานรัฐในฐานะผู้ปฏิบัติตามนโยบายถือ

                 เป็นองคาพยพที่ส าคัญ และประชาชนจ าเป็นต้องเข้าไปมีส่วนร่วมด้วยเช่นกัน สิทธิและการมีส่วนร่วมของ
                 ประชาชนในการพัฒนานโยบายสาธารณะอาจไม่จบลงเพียงแค่การเสนอนโยบายแต่ยังรวมไปถึงการน า

                 นโยบายไปปฏิบัติ (ถวิลวดี บุรีกุล, ทศพล สมพงษ์, และสมเกียรติ นากระโทก, 2563; Karkin, 2011) จากข้อ
                 ค้นพบมีข้อห่วงกังวลของภาคประชาชนต่อภาพอนาคตที่อยากเห็น ซึ่งเป็นเงื่อนไขต่อการใช้สิทธิและมีส่วนร่วม

                 ในนโยบายสาธารณะ ในส่วนการท างานของหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ ได้แก่ ความห่วงกังวลต่อการท างานของ
                 ภาครัฐที่ล่าช้าไม่สม่ าเสมอในการท างาน ความโปร่งใส การทุจริต และเห็นแก่ประโยชน์พวกพ้องมากกว่า
                 ส่วนรวม ข้อบังคับและกฎหมายหน่วยงานรัฐที่ไม่สามารถปฏิบัติได้จริง ท าให้ไม่เอื้อต่อการด าเนินงานและ

                 พัฒนา และการพัฒนาที่ล้าสมัย ขณะเดียวกันเอง ภาคประชาชนก็มีความห่วงกังวลต่อบทบาทของภาค
                 ประชาชนเอง ซึ่งอาจเป็นเงื่อนไขที่กระทบต่อสิทธิและการมีส่วนร่วมในการน านโยบายไปปฏิบัติเช่นกัน ได้แก่





                                                            257
   282   283   284   285   286   287   288   289   290   291   292