Page 286 - kpiebook65021
P. 286
โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน: กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี
กระบวนการพัฒนาข้อเสนอทิศทาง
กระบวนการพัฒนาข้อเสนอทิศทาง เป็นกระบวนการที่ถูกออกแบบให้มีการน าผลจากการรวบรวม
ความต้องการมาน าเสนอและพัฒนาเป็นข้อเสนอทิศทางการพัฒนาจังหวัดจันทบุรีร่วมกัน โดยมีตัวแทนส่วน
ราชการ องค์กรวิชาการ และภาคประชาชนเข้าร่วมกระบวนการ แต่กิจกรรมในกระบวนการนี้ไม่สามารถ
ด าเนินการได้เนื่องจากอยู่ในช่วงสถานการณ์โรคระบาด ประกอบกับข้อจ ากัดด้านปีงบประมาณท าให้การวิจัยนี้
จ าเป็นต้องสิ้นสุดที่สองกระบวนการแรก อย่างไรก็ดี คณะผู้วิจัยมีข้อค้นพบจากกระบวนการรวบรวมความ
ต้องการที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาข้อเสนอทิศทางการพัฒนาจังหวัดจันทบุรี โดยองค์กรภาควิชาการมี
บทบาทสนับสนุนในการร่างข้อเสนอนโยบายต่อภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่
ส าหรับอนาคตที่ชาวจังหวัดจันทบุรีอยากเห็นอีก 20 ปี 10 ปี และ 5 ปีข้างหน้า เป็นไปในทิศทาง
เดียวกันว่าที่ประชาชนในจังหวัดอยากเห็นมากที่สุด คือ ระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานที่ดี ตามมา
ด้วยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การประกอบอาชีพ ความทันสมัยและเทคโนโลยี คุณภาพชีวิต
สุขภาพ และการท่องเที่ยวและสถานที่ส าคัญ ซี่งโดยรวมแล้วถือว่ามีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัด 5 ปี
(2561-2565) 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) พัฒนาประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรและคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ได้
มาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ 2) ยกระดับมาตรฐานการผลิต และ
การตลาดของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 3) อ านวยความ
สะดวกด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว รวมทั้งจัดเตรียมระบบโครงข่ายบริการพื้นฐานเขตเศรษฐกิจ
ชายแดนให้ได้มาตรฐานและเชื่อมโยงกับประชาคมอาเซียน 4) สร้างมูลค่าเพิ่มทางการท่องเที่ยวโดยการ
ปรับปรุงพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กิจกรรมการท่องเที่ยว และสิ่งอ านวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยวให้
เพียงพอและได้มาตรฐานในระดับนานาชาติ 5) ยกระดับมาตรฐานการให้บริการด้านการศึกษา พัฒนาอาชีพ
และบริการสุขภาพเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 6) อนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เกิดความสมดุลและยั่งยืนโดยประชาชนมีส่วนร่วม
อย่างไรก็ดี ผลจากการสัมภาษณ์ที่ได้ล าดับความส าคัญแล้ว คณะผู้วิจัยขอจัดท าเป็นร่างข้อเสนอ
ยุทธศาสตร์จังหวัดจันทบุรีในเบื้องต้นอีก 5 ปีข้างหน้า เพื่อเป็นประโยชน์ในการจัดท ายุทธศาสตร์จังหวัดต่อไป
ในอนาคต ดังนี้
1) พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จ าเป็น เท่าเทียม และสอดรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมใน
แต่ละพื้นที่
2) ยกระดับการตัดสินใจและบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เกิดความสมดุล
และยั่งยืนโดยประชาชนมีส่วนร่วม
3) ยกระดับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยตอบสนองต่อความหลากหลาย
และเท่าเทียมกันในทุกภาคส่วนทั้งภาคเกษตร อัญมณีและเครื่องประดับ ตลอดจนการพัฒนาอาชีพในระดับ
ครัวเรือนเพื่อสร้างรายได้และพึ่งพาตนเองได้
4) ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนผ่านระบบสวัสดิการและบริการขั้นพื้นฐานที่ทั่วถึงและเข้าถึงง่าย
ทั้งด้านการศึกษาและบริการทางสุขภาพ
256