Page 289 - kpiebook65021
P. 289
โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน: กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี
9.3 ข้อเสนอแนะกำรส่งเสริมสิทธิและกำรมีส่วนร่วมของประชำชนในนโยบำยสำธำรณะ
ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้เพื่อส่งเสริมต่อสิทธิและการมีส่วนร่วมของประชาชน ในเชิงนโยบาย
ของประเทศได้ก าหนดให้ประชาชนเป็นภาพส่วนที่ส าคัญในการพัฒนานนโยบายสาธารณะอยู่แล้ว ดังปรากฎ
ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 หากแต่กลไกในทางปฏิบัตินั้น คณะผู้วิจัยขอเสนอให้
หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องด าเนินการในสองประการที่ส าคัญ
ประการแรก ภาครัฐควรส่งเสริมองค์กรภาควิชาการหรือองค์กรภาคประชาสังคม ให้มีบทบาทในการ
ร่วมผลักดันกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะในรูปแบบล่างขึ้นบนมากขึ้น เพราะการพัฒนานโยบาย
สาธารณะแบบบนลงล่างที่รัฐใช้การประชาคมในระดับต าบล ส่งต่อไประดับอ าเภอ สู่ระดับจังหวัด แล้วผ่าน
กลไกคณะกรรมการบริหารจังหวัดแบบบูรณาการนั้นมีระเบียบรองรับที่ชัดเจนอยู่แล้ว การพัฒนานโยบาย
สาธารณะแบบล่างขึ้นบนอาจท าดังเช่นประเทศบราซิล ที่มีสภานโยบาย (Policy councils) เพื่อเป็นพื้นที่
ปรึกษาหารือทางนโยบายและยังเป็นพื้นที่ให้การศึกษาแก่ประชาชน เป็นพื้นที่เปิดให้มีการสนทนาระหว่าง
ประชาชน รัฐบาล และสังคมภายใต้เงื่อนไขที่เป็นธรรม (Lima, 2019, p.1) กลไกนี้เพื่อช่วยให้ภาคประชาชน
ได้มีช่องทางเข้าถึงกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะที่มากกว่าช่องทางปกติและยังเป็นการฝึกทักษะความ
เป็นพลเมืองของประชาชนอีกด้วย
ประการที่สอง กลไกแบบล่างขึ้นบน ควรเน้นการฝึกวัฒนธรรมประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือให้มาก
ขึ้น เนื่องจากผลจากการตอบแบบสอบถามในเบื้องต้น พบว่าประชาชนมีการรับรู้เกี่ยวกับสิทธิและการมีส่วน
ร่วม รวมทั้งความคิดเห็นต่อสิทธิและการมีส่วนร่วมแปลผลอยู่ในระดับมาก แต่ผลของการแสดงออกจริงกลับมี
ระดับที่ไม่สอดคล้องกับการรับรู้และความคิดเห็น แสดงให้เห็นว่าการแสดงออกจริงด้านสิทธิและการมีส่วนร่วม
ยังมีข้อจ ากัดอยู่ และต้องการการส่งเสริม เช่น การเปิดพื้นที่ให้มีกระบวนการพัฒนาข้อเสนอจากภาค
ประชาชนภายใต้กระบวนการปรึกษาหารือ ซึ่งจะช่วยฝึกการแสดงออกและความเป็นพลเมืองในการร่วม
พัฒนานโยบายสาธารณะได้ ถือเป็นการเสริมสร้างศักยภาพของประชาชนที่ถูกมองข้ามให้มีความเป็นพลเมือง
โดยให้พลเมืองสามารถแสดงออกในพื้นที่สาธารณะ (Rietbergen-McCracken, 2017, p.5 อ้างถึงใน ถวิลวดี
บุรีกุล, ทศพล สมพงษ์, และสมเกียรติ นากระโทก, 2563, น.50) เพราะพลเมืองแทบไม่มีโอกาสในการ
กระบวนการพัฒนานโยบาย การให้พลเมืองเข้ามีส่วนร่วมจะท าให้เขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนทางระบบ
ราชการด้วย (Karkin, 2011, pp.16-17)
นอกจากนี้ ตัวแบบจากงานวิจัยนี้อาจเป็นประโยชน์ต่อการน าไปประยุกต์ใช้โดยหน่วยงานอย่าง
ส านักงานจังหวัดหรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดในจังหวัดอื่น หากแต่การน าไปประยุกต์ใช้คณะผู้วิจัยมี
ข้อเสนอแนะใน 2 ประเด็นส าคัญ ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคองค์กรวิชาการ และภาคประชาชน
ควรได้มีส่วนร่วมไปด้วยกันตั้งแต่ต้น ได้แก่ ตั้งแต่กระบวนการสร้างความเข้าใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับภาค
ประชาชนเพื่อให้กระบวนการขั้นต่อไปของตัวแบบ ได้แก่ กระบวนการรวบรวมความต้องการ และ
กระบวนการพัฒนาข้อเสนอทิศทางมีเครือข่ายในการรวบรวมและท าความเข้าใจกับประชาชนผู้ให้ข้อมูลจริงใน
แต่ละต าบล 2) ควรมีการน าข้อมูลที่รวบรวมได้จากกระบวนการรวบรวมความต้องการไปด าเนินการต่อในเชิง
259