Page 290 - kpiebook65021
P. 290

โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน:  กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี





              กระบวนการ เพื่อพัฒนาข้อเสนอนโยบายสาธารณะจากภาคประชาชนแบบมีส่วนร่วม เนื่องจากกระบวนการ
              จัดเวทีถือเป็นปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการพัฒนานโยบายสาธารณะจากภาคประชาชน (ถวิลวดี บุรีกุล, 2563)

              ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือที่จะท าให้เกิดการยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
              สร้างความเป็นสาธารณะและส านึกรับผิดชอบร่วม สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ และความคิดเห็นจาก
              กระบวนการนั้นจะสามารถน าไปสู่การตัดสินใจได้ในที่สุด (วันชัย วัฒนศัพท์ และคณะ, ม.ป.ป., น.24)


              9.4 ข้อเสนองำนวิจัยในอนำคต


                     งานวิจัยนี้ออกแบบเพื่อให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาข้อเสนอทิศทางแบบมีส่วนร่วม แต่ยัง
              ไม่อาจด าเนินการได้ในช่วงสถานการณ์ที่จ ากัดต่อการด าเนินกระบวนการกลุ่ม จึงควรมีการศึกษาที่น าตัวแบบที่

              คณะผู้วิจัยได้พัฒนาไว้นี้ไปทดลองใช้อีกครั้งเมื่อสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ยุติลง เพื่อเป็นการทดสอบ
              แนวทางส ารวจความต้องการและพัฒนาทิศทางการพัฒนาจังหวัดแบบมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ประชาชน
              และองค์กรวิชาการ


                     งานวิจัยนี้มีการออกแบบแบบสอบถามเพื่อวัดการรับรู้ ความคิดเห็น และการแสดงออกด้านการมีส่วนร่วม
              ในการจัดท านโยบายสาธารณะของประชาชน โดยจะใช้วัดระดับการเปลี่ยนแปลงของผู้เข้าร่วมก่อนและหลัง
              กระบวนการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาข้อเสนอทิศทาง แต่ยังไม่สามารถน าไปใช้ได้ในการวิจัยนี้ ผู้วิจัยจึงใช้

              เครื่องมือนี้ได้เพียงครั้งเดียวและไม่อาจเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงได้ อีกทั้งการตอบกลับยังมีจ านวนไม่มาก
              พอที่จะอนุมานไปยังประชากรในจังหวัดได้ จึงควรมีการน าแบบสอบถามนี้ไปใช้กับจ านวนกลุ่มเป้าหมายที่
              กว้างมากขึ้น เพื่อวิเคราะห์เชิงปริมาณได้ว่ามีความแตกต่างทางความคิดเห็นระหว่างกลุ่มต่าง ๆ หรือไม่อย่างไร
              ความคิดเห็นกับการแสดงออกด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมในนโยบายสาธารณะมีระดับความแตกต่างกันหรือไม่

              อย่างไร และเพราะอะไร ซึ่งจะท าให้ได้ข้อค้นพบเชิงประจักษ์ว่าความคิดเห็นกับช่องทางการแสดงออกที่มีอยู่
              จริงนั้น ส่งเสริมต่อการใช้สิทธิและการมีส่วนร่วมของประชาชนหรือไม่อย่างไร

                     งานวิจัยนี้ เป็นการส ารวจเพื่อให้ได้ข้อคิดเห็นในเชิงคุณภาพ ข้อมูลที่ปรากฎเป็นจ านวนมากอาจ
              สะท้อนความต้องการประเด็นความต้องการส่วนใหญ่ แต่ไม่อาจละเลยความคิดเห็นส่วนน้อยของบางพื้นที่
              ที่เป็นข้อคิดเห็นในเชิงลึก แต่งานวิจัยนี้ยังไม่สามารถด าเนินการได้ จึงควรมีการวิจัยต่อเนื่องในเชิงประเด็นโดย

              การใช้ประโยชน์ข้อมูลระดับต าบลหรือระดับอ าเภอในบางพื้นที่จากงานวิจัยนี้ พัฒนาเป็นข้อเสนอทิศทางการ
              พัฒนาในเชิงลึกระหว่างหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบและประชาชน เช่น ความต้องการพัฒนาแหล่งน้ า
              หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ควรได้มีการส ารวจต่อในเชิงลึกต่อไป

                     งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาตัวแบบในกระบวนการนโยบายสาธารณะของประชาชนในจังหวัด

              จันทบุรีเท่านั้น อันเนื่องมาจากข้อจ ากัดด้านระยะเวลาของการวิจัย ดังนั้น งานวิจัยในอนาคตอาจมีการศึกษา
              เปรียบเทียบกระบวนการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชนในกรณีประเทศหรือพื้นที่อื่นเพื่อท าการ
              เปรียบเทียบความเข้มแข็งด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนานโยบายสาธารณะ ของ
              ประเทศที่มีลักษณะสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองใกล้เคียงกันกับประเทศไทย

                     งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาตัวแบบในบริบทสถานการณ์ปัจจุบัน จึงเป็นที่น่าสนใจว่าใน

              อนาคตอาจมีการทดลองใช้ตัวแบบนี้เพื่อท าการศึกษาอีกครั้งว่าชุดข้อมูลและผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับความ





                                                         260
   285   286   287   288   289   290   291   292   293   294   295