Page 285 - kpiebook65021
P. 285
โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน: กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี
ทางการ ซึ่งอาจเป็นผลให้กระบวนการรวบรวมความต้องการในขั้นตอนต่อไปมีภาคประชาชนหลายท่านเกิดข้อ
ค าถาม ประชาชนจึงต้องเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นที่ไม่ใช่เพียงในขั้นเสนอความต้องการ แต่หมายถึงตั้งแต่การ
ก่อตัวของนโยบาย (ถวิลวดี บุรีกุล, ทสพล สมพงษ์, สมเกียรติ นากระโทก, 2563) ดังนั้น การขาดการท าความ
เข้าใจที่เพียงพอถึงวัตถุประสงค์และกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะแก่ประชาชน จึงเป็นปัจจัยเสี่ยงหรือ
เงื่อนไขที่จะท าให้ประชาชนขาดการรับรู้ว่าก าลังมีการพัฒนานโยบายสาธารณะเรื่องอะไร ด้วยวิธีการใด ใคร
เกี่ยวข้องบ้าง ซึ่งเป็นผลให้ประชาชนลังเลที่จะใช้สิทธิและมีส่วนร่วมในกระบวนการรวบรวมข้อมูลได้
กระบวนการรวบรวมความต้องการ
กระบวนการรวบรวมความต้องการในครั้งนี้ องค์กรวิชาการอย่างสถาบันพระปกเกล้าได้ออกแบบ
เครื่องมือในการรวบรวมความต้องการของภาคประชาชนในรูปแบบของแบบสัมภาษณ์ (ตามประเด็นค าถามใน
บทที่ 3 และภาคผนวก) โดยองค์กรวิชาการในพื้นที่ ได้แก่ เครือข่ายนักวิชาการในพื้นที่ซึ่งมีความเข้าใจใน
บริบทพื้นที่เป็นอย่างดี องค์กรวิชาการในกระบวนการรวบรวมความต้องการนี้จึงมีบทบาทในการสนับสนุน
กระบวนการนนโยบายสาธารณะ (ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ, 2563) หากแต่การศึกษาครั้งนี้มีการเก็บข้อมูล
แบบสัมภาษณ์ที่กระจายทุกต าบลและทุกอ าเภอ องค์กรวิชาการที่ให้การสนับสนุนมีเพียงองค์กรเดียวอาจไม่
ครอบคลุมต่อการเข้าถึงทุกพื้นที่ จึงจ าเป็นต้องอาศัยการสนับสนุนของภาครัฐในการรวบรวมด้วย
ส าหรับภาครัฐที่มีบทบาทในกระบวนการนี้ ได้แก่ ส านักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดซึ่งมีเชื่อมโยงกับ
เครือข่ายประชาชนในพื้นที่ในการรวบรวมข้อมูล ส่วนภาคประชาชน ได้แก่ แกนน าผู้ท าหน้าที่รวบรวมข้อมูล
โดยมีทั้งส่วนที่ได้รับการประสานจากพัฒนาชุมชนและองค์กรวิชาการในพื้นที่ รวมทั้งผู้ตอบแบบสัมภาษณ์และ
ตอบแบบสอบถาม ที่มีผู้ให้ข้อมูลหลายท่านให้ความสนใจและมีการติดต่อกลับมายังคณะผู้วิจัยในส่วนกลางใน
รายละเอียดเพิ่มเติมของวัตถุประสงค์ของการรวบรวมข้อมูลและข้อค าถามในการสัมภาษณ์ แสดงให้เห็นว่า
ประชาชนในจังหวัดจันทบุรีเป็นพลเมืองที่มีลักษณะกระตือรือร้น สอดคล้องกับปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนา
นโยบายสาธารณะ โดยถวิลวดี บุรีกุล และคณะ (2563) ที่ว่าพลเมืองที่มีส่วนร่วมเป็นปัจจัยส าคัญ หรือเกรียง
ศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2559) ที่กล่าวว่าประชาชนที่เข้มแข็งก็คือพลเมืองที่ไม่เพิกเฉยและมีส่วนร่วมรับผิดชอบ
คณะผู้วิจัยมีข้ออภิปรายต่อกระบวนการรวบรวมความต้องการนี้ แม้หน่วยงานภาครัฐ องค์กรวิชาการ
ภาคประชาชน จะให้การสนับสนุนต่อการส่งเสริมสิทธิและการมีส่วนร่วมของประชาชน แต่ในการรวบรวม
ข้อมูลองค์กรวิชาการที่ไม่ได้เข้าถึงทุกกลุ่มชุมชนต้องอาศัยความร่วมมือจากพัฒนาชุมชนในพื้นที่ ในช่วงนี้ขาด
การสื่อสารที่เข้าถึงยังประชาชนผู้ตอบแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามท าให้การถ่ายทอดวัตถุประสงค์และ
ความเข้าใจของกระบวนการรวบรวมความต้องการของประชาชนเพื่อพัฒนาข้อเสนอนโยบายยังไม่ชัดเจน
เพียงพอ ดังนั้น นอกเหนือจากการสนับสนุนของภาครัฐและประชาชนในพื้นที่ และการสนับสนุนขององค์กร
วิชาการ ปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขต่อการส่งเสริมสิทธิและการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนี้ที่ส าคัญ
ได้แก่ การประสานงานและการสื่อสารระหว่างเครือข่ายไปสู่ภาคประชาชน
255