Page 284 - kpiebook65021
P. 284

โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน:  กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี





              9.2 ตัวแบบกำรเสริมสร้ำงสิทธิและกำรมีส่วนร่วมพัฒนำนโยบำยสำธำรณะจำกภำคประชำชนจังหวัดจันทบุรี

                     งานวิจัยนี้มุ่งเน้นพัฒนาตัวแบบการเสริมสร้างสิทธิและการมีส่วนร่วมพัฒนานโยบายสาธารณะจาก
              ภาคประชาชน โดยมีกรณีศึกษาเป็นพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ซึ่งตัวแบบที่พัฒนาขึ้นเบื้องต้นเป็นไปตามกรอบ
              แนวคิดในการศึกษาครั้งนี้ (ดังภาพ 2.2 กรอบแนวคิดในการวิจัย) อันประกอบด้วยกระบวนการสร้างความ

              เข้าใจ กระบวนการรวบรวมความต้องการ และกระบวนการพัฒนาข้อเสนอทิศทาง ในส่วนนี้เป็นการอภิปราย
              ว่ามีปัจจัยหรือเงื่อนไขใดที่ส่งเสริมต่อการใช้สิทธิและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนานโยบาย

              สาธารณะ ตามตัวแบบที่ประกอบด้วยสามกระบวนการกับสามภาคส่วน ดังต่อไปนี้

                     กระบวนการสร้างความเข้าใจ


                     กระบวนการสร้างความเข้าใจเป็นการออกแบบที่คณะผู้วิจัยเป็นหน่วยประสานเข้าพบภาคส่วนที่เป็น
              ภาคราชการ ภาคประชาชน และองค์กรวิชาการในพื้นที่เพื่อท าความเข้าใจและปรึกษาหารือร่วมกันถึง

              เป้าหมายเชิงเนื้อหาและและกระบวนการของการวิจัยเพื่อส่งเสริมสิทธิและการมีส่วนร่วมของประชาชนฯ
              ประเด็นปรึกษาหารือ ได้แก่ ความท้าทายเกี่ยวกับภาคประชาชนในจังหวัด และแนวทางการสร้างความเป็น
              หุ้นส่วนในการพัฒนาตัวแบบร่วมกัน


                     ภาครัฐในกระบวนการนี้ ได้แก่ ส านักงานจังหวัดจันทบุรี องค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี ทั้งสอง
              หน่วยงานต่างมีมุมมองที่ส่งเสริมสิทธิและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนานโยบายสาธารณะ และ

              พร้อมสนับสนุนโครงการวิจัยนี้ อันสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 43 ที่รับรองสิทธิ
              ของชุมชนในการจัดการและใช้ประโยชน์ทรัพยากรรวมถึงสามารถเข้าชื่อเพื่อเสนอแนะต่อการด าเนินงานของ

              หน่วยงานรัฐ อีกทั้งยังสอดคล้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในหมวดว่าด้วยการท าหน้าที่ของรัฐตาม
              มาตรา 57(1) ที่รัฐต้องจัดให้มีพื้นที่สาธารณะให้ประชาชนมีส่วนร่วม มาตรา 78 ให้ประชาชนมีส่วนร่วมพัฒนา

              ประเทศ และมาตรา 253 ที่ท้องถิ่นต้องมีกลไกให้ประชาชนมีส่วนร่วม แสดงว่า นโยบายและกฎระเบียบในเชิง
              ของเจตนารมย์ มุมมองการพัฒนา และการสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐถือเป็นปัจจัยบวกต่อการส่งเสริม

              สิทธิและการมีส่วนร่วมในการพัฒนานโยบายสาธารณะส าหรับกระบวนการสร้างความเข้าใจและเครือข่าย
              ประชาชนในจังหวัดจันทบุรี

                     องค์กรวิชาการ ได้แก่ เครือข่ายนักวิชาการในพื้นที่จังหวัดจันทบุรีที่มีความเข้าใจในบริบทพื้นที่เป็น

              อย่างดี ทั้งยังให้การสนับสนุนในการสร้างความเข้าใจต่อภาคประชาชนผู้ให้ข้อมูล สอดคล้องกับถวิลวดี บุรีกุล
              และคณะ (2563) ที่ว่าองค์กรวิชาการสามารถท าหน้าที่สนับสนุนกระบวนการนโยบายสาธารณะ ดังนั้น องค์กร

              วิชาการที่มีความเข้าใจพื้นที่และสามารถสนับสนุนเชื่อมโยงไปถึงภาคประชาชนได้ ถือเป็นเงื่อนไขความส าเร็จ
              ในกระบวนการสร้างความเข้าใจ

                     ภาคประชาชน ได้แก่ ตัวแทนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ซึ่งไม่ได้เข้ามาสู่กระบวนการสร้างความเข้าใจ

              เนื่องจากภาคประชาชนในการศึกษาครั้งนี้ได้รับการติดต่อเฉพาะแกนน าบางท่านเพื่อสร้างความเข้าใจเบื้องต้น
              แต่ต้องหยุดชะงักไปก่อนด้วยสถานการณ์โรคระบาด กระบวนการท าความเข้าใจของวัตถุประสงค์และ

              กระบวนการก่อนการรวบรวมข้อมูลกับภาคประชาชนที่เป็นแกนน าจึงเป็นการอธิบายผ่านเอกสารที่มีความเป็น




                                                         254
   279   280   281   282   283   284   285   286   287   288   289