Page 61 - kpiebook65019
P. 61
60 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
สิทธิชุมชน ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม
ด้วยเหตุดังนั้น การจะด�าเนินการเพื่อท�าให้ “สิทธิชุมชน” ซึ่งมีอยู่และ
เป็นอยู่แล้วในความเป็นจริง (De facto) ได้รับการยอมรับหรือมีสถานภาพเป็น “สิทธิ”
ในทางกฎหมาย (De juris) จึงเป็นประเด็นที่ท้าทายเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ด้วยเหตุที่ค�าว่า
“สิทธิชุมชน” นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นต้น
มา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และในรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน พุทธศักราช 2560 มีการบัญญัติรับรองสิทธิของ
ชุมชนเอาไว้เสมอมา แต่ท�าไมหรือเพราะเหตุใดที่แม้จะมีการรับรอง “สิทธิชุมชน”
ไว้ในกฎหมายสูงสุดแล้ว “สิทธิชุมชน” กลับไม่มีความหมายในทางกฎหมาย
จากการศึกษาพบว่า ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
เป็นปัญหาในด้านการปฏิบัติของหน่วยงานต่าง ๆ และของเจ้าหน้าที่ทั้งในทางฐานะ
เจ้าหน้าที่ปฏิบัติในระดับพื้นที่และเจ้าหน้าที่ในราชการส่วนกลางในฝ่ายนโยบายและ
กฎหมายที่ตีความค�าว่า “...ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ” เป็นข้อที่ท�าให้ “สิทธิชุมชน”
แม้รัฐธรรมนูญจะให้การรับรองแต่ก็ไม่เกิดผลในทางปฏิบัติ
18
18 มาตรา 46 และมาตรา 56 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
มาตรา 46 บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ
การบ�ารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
ทั้งนี้ ตำมที่กฎหมำยบัญญัติ
มาตรา ๕๖ สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการบ�ารุงรักษา และการได้ประโยชน์
จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครอง ส่งเสริม และ
รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ด�ารงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่อง ในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อ
ให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน ย่อมได้รับความคุ้มครอง
ทั้งนี้ ตำมที่กฎหมำยบัญญัติ