Page 56 - kpiebook65019
P. 56

55


            3. การเปลี่ยนแปลงรูปแบบในการพัฒนาหลักกฎหมาย

           เพื่อสิทธิชุมชน


                  การเปลี่ยนแปลงรูปแบบในการพัฒนาหลักกฎหมายเพื่อสิทธิชุมชน ซึ่งจะต้อง

           มีการเปลี่ยนแปลงไม่เฉพาะแต่ในแง่ของการต้องมีบทบัญญัติในทางกฎหมายเท่านั้น

           แต่เนื่องจากประเด็นเรื่องสิทธิชุมชนเป็นเรื่องใหญ่และเป็นเรื่องใหม่ในทางกฎหมาย
           การที่จะสามารถมีบทบัญญัติในทางกฎหมายที่สมบูรณ์แบบจึงเรื่องยากและเป็นข้อจ�ากัด
           และเป็นกับดักในการที่จะผลักดันให้เกิดเป็นพระราชบัญญัติซึ่งต้องการความสมบูรณ์

           แบบชัดเจนของเนื้อหาของสิทธิชุมชน ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ค่อนข้างยาก เนื่องจาก

           ประเด็นต่าง ๆ ของสิทธิชุมชนมีความเป็นพลวัตสูงมากกว่าที่กระบวนการตรา
           พระราชบัญญัติจะด�าเนินการแล้วเสร็จสิ่งที่บัญญัติอยู่ในร่างพระราชบัญญัติที่จะ
           ประกาศใช้ก็อาจจะไม่ทันสมัยไปแล้ว


                   ด้วยเหตุนี้ ดังนั้นจึงควรที่จะมีกฎหมายในรูปของพระราชบัญญัติที่เป็น

           การวางกรอบเพื่อไปพัฒนารายละเอียดของขอบเขตของสิทธิชุมชนในแต่ละด้าน
           และในขณะเดียวกัน ควรที่จะพัฒนาระบบการสร้างกฎหมายในลักษณะที่เป็น

           Judge made law โดยเทียบเคียงกับกรณีที่ศาลปกครองหรือศาลรัฐธรรมนูญในปัจจุบัน
           ที่ค่อย ๆ พัฒนาหลักกฎหมายขึ้นมาจากคดีข้อพิพาทแล้วศาลได้พิจารณาพิพากษา

           ที่เป็นการชั่งน�้าหนักเพื่อสร้างหรือวางเกณฑ์เกี่ยวกับความยุติธรรมในแต่ละเรื่องของ
           ความขัดแย้งจนเกิดเป็นแนวค�าพิพากษาขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากประเด็นขอบเขตเกี่ยวกับ

           สิทธิชุมชนมีมิติที่สลับซับซ้อน มีพลวัต และเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น
           จึงต้องใช้กระบวนการพัฒนาหลักในทางกฎหมายที่ยืดหยุ่นกว่ากระบวนการนิติบัญญัติ

           ปรกติ
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61