Page 60 - kpiebook65019
P. 60
59
ด้วยเหตุดังนั้น หากพิจารณาจากบทเรียนและประสบการณ์ของประเทศที่มี
ระบบการรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ดี มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม
และเสมอภาค โดยรัฐธรรมนูญแล้ว จะพบว่า “หลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของ
รัฐธรรมนูญ” ถูกให้ความส�าคัญเป็นอย่างมาก ตั้งแต่กลไกที่ส�าคัญ ๆ ตามรัฐธรรมนูญ
และองค์กรต่าง ๆ ทั้งตามรัฐธรรมนูญ รวมตลอดถึงองค์กรทั้งหลายของรัฐที่เกี่ยวข้อง
กับสิทธิเสรีภาพของประชาชนต่างเคารพและปฏิบัติอย่างเต็มความสามารถภายใต้
อ�านาจหน้าที่ที่จะปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
การพัฒนาหรือการรับรองสิทธิเสรีภาพประเภทใหม่ ๆ ให้ปรากฏเป็น
ลายลักษณ์อักษรในระดับรัฐธรรมนูญ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการรัฐธรรมนูญนิยม
(Constitutionalism) ซึ่งส�าหรับประเทศไทย นับตั้งแต่ก่อน ปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา
จนกระทั่งปัจจุบัน สองทศวรรษเศษ กระบวนการรัฐธรรมนูญนิยมยังคงวนเวียนอยู่
ในขั้นตอนของการร่างรัฐธรรมนูญฉบับต่าง ๆ เรื่อยมา ยังไม่สามารถที่จะไปสู่ขั้นตอน
ของการปรับปรุงเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร และกลไกการใช้อ�านาจทั้งในทางกฎหมาย
อ�านาจในเชิงสถาบันที่อยู่ในระบบราชการ และในประการส�าคัญที่เป็นเป้าหมาย
ของกระบวนการรัฐธรรมนูญนิยมคือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นการปฏิรูปทางสังคม
ผ่านทางการปฏิรูปโครงสร้างอ�านาจรัฐทั้งในด้านองค์กรทางการเมืองและในด้านอ�านาจ
ขององค์กรในระบบราชการ การปฏิรูประบบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเพื่อ
สร้างสมดุลใหม่ระหว่างสิทธิเสรีภาพของประชาชน กระบวนการใช้อ�านาจของรัฐ
และพลังอ�านาจของระบบเศรษฐกิจแบบทุนที่เข้ามาแย่งชิงการใช้ทรัพยากรทั้งทางตรง
และโดยอ้อม และยิ่งไปกว่านั้น ในปัจจุบันควรจะต้องรวมถึงพลังอ�านาจของเทคโนโลยี
การสื่อสารที่ท�าให้ขอบเขตอ�านาจรัฐและกฎหมายไม่สามารถที่จะคงอ�านาจและบทบาท
ในการควบคุมพื้นที่ได้ทั้งหมดอีกต่อไป