Page 64 - kpiebook65019
P. 64

63



           กฎหมายก�าหนดในรายละเอียดของขอบเขตของสิทธิ-หน้าที่ที่จะสามารถปฏิบัติได้
           ดังนั้น ในกระบวนการจัดท�ารัฐธรรมนูญเพื่อเป็นหลักประกันสิทธิแก่ประชาชนและ

           ท�าให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติสามารถที่จะด�าเนินการได้ในระดับปฏิบัติ และเพื่อให้
           สอดคล้องกับหลักการนิติรัฐซึ่งเป็นหลักพื้นฐานที่ส�าคัญของหลักการของ “กระบวนการ

           รัฐธรรมนูญนิยม” ด้วย จึงควรจัดท�าร่างพระราชบัญญัติก�าหนดรายละเอียดเกี่ยวกับ
           สิทธิชุมชนเพื่อให้รัฐสภาด�าเนินการตราเป็นพระราชบัญญัติให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว

           ในลักษณะท�านองเดียวกันกับกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ

                  หลักการส�าคัญประการที่สองของ “กระบวนการรัฐธรรมนูญนิยม” คือ

           การจัดองค์กรในการใช้อ�านาจในการบริหารบ้านเมืองและแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
           ในสังคม ซึ่งนอกจากจะต้องเป็นไปตามหลักการแบ่งแยกอ�านาจและหลักการตรวจสอบ

           ถ่วงดุลอ�านาจโดยการจัดตั้งองค์กรในการใช้อ�านาจอธิปไตยสามสถาบันหลักแล้ว
           ในยุคปัจจุบันมีการจัดตั้งองค์กรที่ท�าหน้าที่ในการตรวจสอบในรูปแบบ “องค์กรอิสระ”

           ตามรัฐธรรมนูญอีกมากมายเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพื่อด�าเนินการ
           ติดตามตรวจสอบและท�าหน้าที่ในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของภาครัฐ

           ในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ชุมชน และสังคม


                  ในกรณีปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญของ
           ประเทศไทยดังที่ผ่านมา มักจะมีปัญหาในสามด้าน คือ 1. การไม่มีบทบัญญัติรับรองสิทธิ
           ไว้ในรัฐธรรมนูญหรือแม้จะมีแต่ก็รับรองหรือคุ้มครองแบบจ�ากัด 2. แม้จะมีบทบัญญัติ

           รับรองคุ้มครองสิทธิเสรีภาพไว้ แต่ไม่มีบทบัญญัติก�าหนดเนื้อหาในรายละเอียดที่จะ

           น�าไปสู่การปฏิบัติได้ และ 3. แม้จะมีบทบัญญัติรับรอง และหรือรวมถึงมีบทบัญญัติ
           ที่ก�าหนดเนื้อหาในรายละเอียด แต่ก็มีบทบัญญัติของกฎหมายอื่น ๆ ที่ขัดหรือแย้ง
           กับบทบัญญัติที่รับรองสิทธิตามรัฐธรรมนูญ และไม่มีองค์กรหรือกลไกที่จะด�าเนินการ

           เพื่อจัดการกับกฎหมายที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญอย่างจริงจัง
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69