Page 59 - kpiebook65019
P. 59
58 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
สิทธิชุมชน ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม
ในทางภาคเหนือที่มีรากฐานมาเป็นเวลานาน มีการรับรองไว้ในกฎหมายมังรายศาสตร์
จารีตในการจัดการทรัพยากรป่า ที่ดินท�ากิน ที่นา ที่ไร่ และแหล่งน�้าของชุมชนใน
ภาคเหนือ และในภาคอีสาน การลุกขึ้นมาจัดการกับผู้ที่ลักลอบตัดไม้ การบุกรุก
พื้นที่ป่าของรัฐโดยชุมชน ฯลฯ จนเกิดเป็นเหตุการณ์ของสถานการณ์ความขัดแย้ง
ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลา
เกือบ ๆ 30 กว่าปีที่ผ่านมา แต่ในขณะเดียวกัน นับตั้งแต่การร่างรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ในขณะนั้น
ได้น�าเอาปัญหาในด้านสิทธิเสรีภาพต่าง ๆ ของสังคมไทยสะท้อนเข้าไปในกระบวนการ
จัดท�าร่างรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาความขัดแย้งในการจัดสรรและ
ใช้ประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อออกแบบกลไกและจัดองค์กร
ในการท�าให้สิทธิเสรีภาพตามร่างรัฐธรรมนูญเกิดผลขึ้นจริงในทางปฏิบัติจึงท�าให้เกิด
บทบัญญัติที่รับรองสิทธิชุมชนขึ้นเป็นครั้งแรกในกระบวนการจัดท�ารัฐธรรมนูญของ
ประเทศไทย (และในการจัดท�ารัฐธรรมนูญฉบับต่อ ๆ มาก็สามารถที่จะคงเนื้อหา
ในการรับรองสิทธิของชุมชนไว้ในรัฐธรรมนูญมาได้อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ รัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 พุทธศักราช 2550 และ พุทธศักราช 2560
แม้ระดับของการรับรองและการคุ้มครองสิทธิชุมชนจะแตกต่างกันในแต่ละฉบับ)
แต่อย่างไรก็ตาม ความเข้าใจในหลักการพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ
ในฐานะที่เป็นกฎหมายที่มีสถานะสูงสุดในทางกฎหมาย แต่ไม่ได้อยู่ในฐานะที่เป็น
สัญญาประชาคมในทางการเมืองและในทางสังคม ดังนั้น ด้วยความเข้าใจดังกล่าว
จึงท�าให้รัฐธรรมนูญท�าได้แต่เพียงการบัญญัติเพื่อรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
เท่านั้น ยังไม่สามารถที่จะไปปฏิรูประบบการเมืองการปกครอง และปฏิรูปทางสังคม
ที่จะช่วยพัฒนาให้บทบัญญัติและกลไกทั้งหลายที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญยกระดับไปสู่
“กระบวนการรัฐธรรมนูญนิยม (Constitutionalism)”