Page 53 - kpiebook65019
P. 53
52 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
สิทธิชุมชน ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม
ในขณะนั้น จนน�าไปสู่ต้องไปแก้ไขในโอกาสที่มีการจัดท�ารัฐธรรมนูญ
ฉบับใหม่ ใน พ.ศ. 2550 โดยการตัดค�าว่า “ทั้งนี้ ตามที่กฎหมาย
บัญญัติ” ออกไป (ได้ส�าเร็จ) แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (2560)
กลับมาบัญญัติค�าว่า “ตามวิธีการที่กฎหมายก�าหนด” แม้ในประเด็นนี้
จะมีค�าวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญวางหลักการการมีสิทธิแบบอัตโนมัติ
มาแล้วก็ตาม
1.2 ปัญหาของล�าดับความส�าคัญของกระบวนการนิติบัญญัติหลังจาก
ที่รัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ ดังกรณีตัวอย่างในรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งมีมาตรา 303
17
17 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
มาตรา 303 ในวาระเริ่มแรก ให้คณะรัฐมนตรีที่เข้าบริหารราชการแผ่นดินภายหลังจาก
การเลือกตั้งทั่วไปเป็นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ด�าเนินการจัดท�าหรือปรับปรุงกฎหมายในเรื่อง
ดังต่อไปนี้ ให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่ก�าหนด
(1) กฎหมายที่เกี่ยวกับการก�าหนดรายละเอียดเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองการใช้สิทธิและเสรีภาพ
ตามมาตรา 40 มาตรา 44 บทบัญญัติในส่วนที่ 7 เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและ
สื่อมวลชน ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา ส่วนที่ 9 สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุข
และสวัสดิการจากรัฐ ส่วนที่ 10 สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน รวมทั้งกฎหมายว่าด้วย
ข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 56 ส่วนที่ 12 สิทธิชุมชน กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การเพื่อ
การคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระตามมาตรา 61 วรรคสอง กฎหมายว่าด้วยสภาพัฒนาการเมือง
ตามมาตรา 78 (7) กฎหมายเพื่อจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมตามมาตรา 81
(4) กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสภาเกษตรกรตามมาตรา 84 (8) กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งกองทุน
พัฒนาการเมืองภาคพลเมืองตามมาตรา 87 (4) และกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติตามมาตรา 256 ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่แถลงนโยบายต่อรัฐสภาตามมาตรา 176
(2) กฎหมายเพื่อการพัฒนาการศึกษาของชาติตามมาตรา 80 โดยส่งเสริมการศึกษาในระบบ
การศึกษานอกโรงเรียน การศึกษาตามอัธยาศัย การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ตลอดชีวิต วิทยาลัย
ชุมชนหรือรูปแบบอื่น รวมทั้งปรับปรุงกฎหมายเพื่อก�าหนดหน่วยงานรับผิดชอบการจัดการศึกษา