Page 50 - kpiebook65019
P. 50

49



                   แต่ในทางกลับกันหน่วยงานของรัฐก็ใช้กระบวนการยุติธรรมทางอาญาและ
           ทางแพ่งโดยอ้างกฎหมายที่เป็นอ�านาจหน้าที่ของหน่วยงานในการด�าเนินคดีกับประชาชน

           ที่ได้รับความคุ้มครองจากสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้น ในคดีที่เกี่ยวกับการกระท�า

           ความผิดทางอาญาที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นเรื่องสิทธิชุมชน หลักสิทธิชุมชนตาม
           รัฐธรรมนูญฉบับต่าง ๆ ก็ถูกหยิบยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคดีของประชาชนอยู่เสมอ ๆ


                   7. การพัฒนาต่อยอดเครื่องมือและกลไกเพื่อส่งเสริมสิทธิชุมชน

                  การพัฒนาต่อยอดเครื่องมือและกลไกเพื่อส่งเสริมสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ

           ให้เกิดปฏิบัติการในระดับพื้นที่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นกฎกติกาที่เกิดขึ้น
           ในระดับชุมชนท้องถิ่นและได้รับการยอมรับ ได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐ

           ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นกฎหมายที่มีลักษณะพหุนิยมภายใต้สิทธิชุมชนที่เกิดจาก
           การเคลื่อนไหวของขบวนการสิทธิชุมชน ซึ่งเป็นไปตามความแตกต่างหลากหลายของ

           ความเป็นชุมชน ดังเช่น
                     1.   ข้อบัญญัติท้องถิ่นเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                         ในระดับต�าบลที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
                         สิ่งแวดล้อมที่เป็นพื้นที่ป่า ที่ดินท�ากิน และพื้นที่ท�าการประมงชายฝั่ง

                     2.   ธรรมนูญที่จัดท�าและประกาศใช้พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ
                         พ.ศ. 2550 ซึ่งครอบคลุมการจัดการในด้านต่าง ๆ เช่น ธรรมนูญสุขภาพ

                         ธรรมนูญแม่น�้า ธรรมนูญพืชกระท่อม ฯลฯ และ
                     3.   การจัดสรรสิทธิในที่ดินท�ากินให้กับชุมชนในรูปแบบของ “โฉนดชุมชน”

                         ซึ่งในกรณีโฉนดชุมชนดังกล่าวนี้ได้รับการรับรองโดยมี ระเบียบ
                         ส�านักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน พ.ศ. 2553 รองรับ

                         และน�าไปสู่การพัฒนาและเปลี่ยนระบบการแก้ปัญหาที่ดินท�ากิน
                         ของชุมชนแบบใหม่
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55