Page 97 - kpiebook65017
P. 97
96 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
การคลังสาธารณะ
เงื่อนไขในรายละเอียด ตลอดจนเขียนบทลงโทษหรือการชดใช้เงินคืนพร้อมดอกเบี้ย
ในรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการและบทลงโทษนั้น
ไม่มีความชัดเจนและแน่นอน ดังนั้น ผู้เขียนจึงเสนอว่า พระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2561
ได้วางหลักเกณฑ์และบทลงโทษในเรื่องการป้องกันและปรามปรามการทุจริต
ส�าหรับข้าราชการทางการเมืองและข้าราชการประจ�าไว้อยู่แล้ว อีกทั้งยังมีบทบัญญัติ
89
ที่ห้ามการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม นอกจากนี้
ยังมีมาตรการที่ส่งเสริมให้ประชาชนหรือเจ้าหน้าที่รัฐชี้ช่อง แจ้งเบาะแส หรือให้ข้อมูล
หรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทุจริต ตลอดจนมีมาตรการคุ้มครองผู้ให้เบาะแสซึ่งสามารถ
90
ปรับใช้กับกรณีเจ้าหน้าที่รัฐที่ท�าหน้าที่จัดท�าหรือจัดสรรงบประมาณได้อยู่แล้ว
หากต้องการเพิ่มเติมให้มาตรการป้องกันหรือการปราบปรามการทุจริตที่เกี่ยวข้องกับ
งบประมาณแผ่นดินให้มีความเข้มงวดมากขึ้น ก็สามารถกระท�าได้โดยการแก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม
การทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2561 แต่ไม่ควรน�ามาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
มาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ดังนั้น การรักษาสมดุลของอ�านาจตามหลักการแบ่งแยก
อ�านาจ ไม่ให้อ�านาจใดอ�านาจหนึ่งมากจนเกินไปหรืออ�านาจใดก้าวล่วงมาใช้อีก
91
อ�านาจหนึ่งได้ ย่อมเป็นหัวใจส�าคัญของรัฐธรรมนูญที่ดี และเป็นคุณค่าส�าคัญของ
การธ�ารงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตย
89 โปรดดู พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ
ทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2561 หมวด 6 การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม
90 โปรดดู พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม
การทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2561 หมวด7 การส่งเสริมการป้องกันและการปราบปรามการทุจริต
91 Tom Ginsburg and Rosalind Dixon, Comparative constitutional law (Northampton
MA: Edward Elgar) 116.