Page 102 - kpiebook65017
P. 102
101
ยิ่งไปกว่านั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 144
ได้เพิ่มเติมมาตรการในการปราบโกง ในกรณีที่มีการกระท�าที่ส่งผลให้สมาชิกรัฐสภา
และคณะกรรมาธิการมีส่วนไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่าย
โดยก�าหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีเขตอ�านาจในการตรวจสอบและลงโทษนักการเมือง
กล่าวคือ ให้สมาชิกรัฐสภาที่ฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 144 วรรคสอง พ้นจาก
สมาชิกภาพและเพิกถอนสิทธิในการลงสมัครรับเลือกตั้ง หากเป็นกรณีคณะรัฐมนตรี
ที่ให้พ้นจากต�าแหน่งทั้งคณะและเพิกถอนสิทธิรับสมัครเลือกตั้งของรัฐมนตรีที่พ้นจาก
ต�าแหน่ง ตลอดจนเรียกให้บุคคลดังกล่าวชดใช้เงินคืนพร้อมดอกเบี้ยซึ่งเป็นโทษที่มี
ความรุนแรงแต่บทบัญญัติยังขาดความชัดเจนและแน่นอน อีกทั้งยังมีปัญหาความลักลั่น
ของมาตรา 144 วรรคหกและวรรคสามที่ไม่สอดรับกัน นอกจากนี้ การให้อ�านาจกับฝ่าย
ตุลาการและองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในการตรวจสอบการกระท�าของฝ่ายนิติบัญญัติ
เกี่ยวกับการพิจารณาและอนุมัติกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย จึงขัดกับหลักอ�านาจ
ในการริเริ่มทางการคลังเป็นของฝ่ายบริหาร หลักอ�านาจในการอนุมัติงบประมาณเป็น
ของรัฐสภาซึ่งขัดต่อหลักการแบ่งแยกอ�านาจอีกด้วย จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติ
ดังกล่าวให้เป็นไปตามหลักการเดิมของรัฐธรรมนูญ ปี 2540 และ ปี 2550
ด้วยข้อจ�ากัดดังกล่าวข้างต้น การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
พุทธศักราช 2560 จึงเป็นเรื่องที่จ�าเป็น เพื่อให้บทบัญญัติทางการคลังสาธารณะ
ตามรัฐธรรมนูญของประเทศไทยสอดคล้องกับหลักการพื้นฐานทางกฎหมายการคลัง
และการรักษาดุลยภาพแห่งอ�านาจตามหลักการแบ่งแยกอ�านาจ สร้างสภาพบังคับ
ในการคุ้มครองสิทธิของประชาชนผู้เสียภาษีและในการรักษาวินัยการทางการคลังของ
รัฐต่อไป