Page 96 - kpiebook65017
P. 96
95
ประการสุดท้าย สอดคล้องกับหลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กล่าวคือ
การก�าหนดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้จัดท�าโครงการหรืออนุมัติหรือจัดสรรเงินงบประมาณ
โดยรู้ว่า มีการแปรญัตติเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเพิ่มเติมรายการหรือจ�านวนในรายการ
ในร่างกฎหมายว่าด้วยงบประมาณ หรือการกระท�าด้วยประการใด ๆ ที่มีผลให้
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และกรรมาธิการมีส่วน ไม่ว่าโดยทางตรง
หรือทางอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่าย แต่ไม่ได้บันทึกข้อโต้แย้งไว้เป็นหนังสือ
หรือมีหนังสือแจ้งให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบ
มีความรับผิด แม้จะต้องการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีหน้าที่ดังกล่าวเป็นหนึ่งในกลไก
ในการป้องกันการทุจริตงบประมาณ แต่ดังที่ได้อธิบายข้างต้นว่า การกระท�าดังกล่าว
ของสมาชิกรัฐสภาดังกล่าวเป็นอ�านาจทางนิติบัญญัติโดยแท้และอยู่ในขั้นตอนของ
การอนุมัติงบประมาณ ยังไม่ใช่ขั้นตอนการใช้งบประมาณที่จะก่อให้เกิดการทุจริต
88
ในการใช้งบประมาณได้ เจ้าหน้าที่ของรัฐย่อมไม่อาจรู้เจตนาที่แท้จริงของสมาชิกรัฐสภา
หรือหากสงสัย ก็เป็นการยากที่จะพิสูจน์ว่าสมาชิกรัฐสภาฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 144
วรรคสองจริง ดังนั้น การก�าหนดความรับผิดของเจ้าหน้าที่รัฐเช่นนี้จึงเป็นการสร้าง
ภาระให้แก่เจ้าหน้าที่ดังกล่าวเกินควรและไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่รัฐ
แม้ว่าผู้เขียนจะเห็นด้วยกับหลักการของผู้ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2560 ที่มุ่งเน้นการป้องกันและการปราบปรามการทุจริต และการกระท�า
ที่เป็นการขัดกันซึ่งผลประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันและปราบปราม
มิให้การอนุมัติงบประมาณแผ่นดินน�าไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันได้ แต่อย่างไรก็ดี
ผู้เขียนเห็นว่า การน�า “มาตรการปราบโกง” มาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นควร
กฎหมายที่วางหลักการส�าคัญเท่านั้น ไม่ควรเป็นกฎหมายที่มาก�าหนดหลักเกณฑ์หรือ
88 เพิ่งอ้าง.