Page 29 - kpiebook65017
P. 29

28   ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
          การคลังสาธารณะ

                       1.4.2 หลักการห้ามฝ่ายนิติบัญญัติ

                       ในการริเริ่มก�าหนดรายจ่ายแผ่นดิน


               หลักการห้ามฝ่ายนิติบัญญัติในการริเริ่มก�าหนดรายจ่ายแผ่นดินพัฒนา

        มาจากหลักการริเริ่มทางการคลังเป็นของฝ่ายบริหาร เนื่องจากตามหลักการแบ่งแยก
        อ�านาจนั้น ฝ่ายบริหารมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ฝ่ายบริหารย่อมมีอ�านาจ

        โดยชอบธรรมในการก�าหนดรายจ่ายแผ่นดินขึ้นได้ ส่วนฝ่ายนิติบัญญัตินั้น ไม่อยู่ใน
        ฐานะที่เหมาะสมในการก�าหนดรายจ่ายแผ่นดินขึ้นมาเอง เนื่องจากมีหน้าที่ในการตรา

        กฎหมายเป็นส�าคัญ แม้ฝ่ายนิติบัญญัติจะมีอ�านาจในการอนุมัติและควบคุมงบประมาณ
        รายจ่ายแผ่นดินตามหลักอ�านาจในการอนุมัติงบประมาณเป็นอ�านาจของรัฐสภา

        ดังที่กล่าวมาในหัวข้อก่อนหน้านี้ก็ตาม แต่ก็มิได้หมายความรวมถึงให้สมาชิกรัฐสภา
        มีอ�านาจในการริเริ่มการก�าหนดรายจ่ายแผ่นดินได้เอง เมื่อใดก็ตามที่สมาชิกรัฐสภา

        ประสงค์จะก�าหนดรายจ่ายแผ่นดินไม่ว่าจะโดยวิธีการเสนอกฎหมาย หรือการแปร
        ญัตติ อันจะส่งผลกระทบต่อความสมดุลทางการคลังของประเทศ เช่น ท�าให้เกิด

        การเพิ่มขึ้นแก่รายจ่ายสาธารณะ หรือลดน้อยลงของรายได้สาธารณะ เมื่อนั้นก็จะ
        ถือว่าฝ่ายนิติบัญญัติเข้าไปแทรกแซงอ�านาจของฝ่ายบริหารในการริเริ่มก�าหนดรายจ่าย

                  28
        แผ่นดินแล้ว  ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ฝ่ายนิติบัญญัติกระท�าการริเริ่มก�าหนด
        รายจ่ายแผ่นดิน จึงจ�าต้องมีการห้ามฝ่ายนิติบัญญัติริเริ่มก�าหนดรายจ่ายแผ่นดิน

        เว้นแต่ได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายบริหารเสียก่อน จึงเป็นที่มาของหลักการห้าม
        ฝ่ายนิติบัญญัติริเริ่มก�าหนดรายจ่ายแผ่นดินนั่นเอง 29


        28    วรเจตน์ ภาคีรัตน์, ค�าสอนว่าด้วยรัฐและหลักกฎหมายมหาชน ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (พิมพ์
        ครั้งที่ 3, ส�านักพิมพ์อ่านกฎหมาย 2564) 270.
        29    นิพนธ์ โลหะกุลวิช, ‘หลักการห้ามฝ่ายนิติบัญญัติริเริ่มก�าหนดรายจ่ายแผ่นดิน’ (วิทยานิพนธ์
        นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2539) 75-76.
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34