Page 214 - kpiebook64011
P. 214

ที่กฎหมายก าหนด ไม่ว่าจะเป็นการแจกเงิน การข่มขู่คุกคามเพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งตัดสินใจเลือกผู้สมัครตามที่
               หัวคะแนนต้องการ และด้านที่สี่ ความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ในหน่วยเลือกตั้ง


                       ประการที่สอง หน่วยงานหลักสี่หน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งนี้ประกอบไป
               ด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งในส่วนกลาง คณะกรรมการการเลือกตั้งประจ าจังหวัดสมุทรปราการ

               คณะกรรมการการเลือกตั้งประจ าองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ และผู้อ านวยการการเลือกตั้ง
               ประจ าองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ อีกทั้งยังมีกลุ่ม We Watch ในฐานะกลุ่มประชาสังคม
               สถาบันทางพระปกเกล้าในฐานะสถาบันวิชาการ และผู้ตรวจการเลือกตั้งในฐานะคณะกรรมการตรวจสอบจาก
               คณะกรรมการการเลือกตั้งในส่วนกลาง ท าหน้าที่เฝ้าระวังและประเมินการจัดการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม

               บทบาทของภาคส่วนประชาสังคม สถาบันวิชาการ และผู้ตรวจการเลือกตั้งมักด าเนินไปในฐานะผู้เฝ้าสังเกต
               และป่าวร้องความไม่โปร่งใสในการเลือกตั้งให้สาธารณะได้รับรู้ ยังไม่สามารถเข้าไปมีผลต่อการตัดสินว่าผลการ
               เลือกตั้งที่ออกมาชอบธรรมหรือไม่ชอบธรรมพอที่คณะกรรมการการเลือกตั้งส่วนกลางจะให้การรับรอง


                       ประการสุดท้าย แม้ในรอบนี้ การเลือกตั้งท้องถิ่นในระดับองค์การบริหารส่วนจังหวัดในจังหวัด
               สมุทรปราการจะมีกรณีของการทุจริตในหลายหน่วยจนถึงการเลือกตั้งใหม่ในบางหน่วย และมีข้อร้องเรียนถึง
               คุณสมบัติของตัวผู้สมัครซึ่งชนะการเลือกตั้งในต าแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด แต่ผลการเลือกตั้ง

               ซ่อมและการสอบสวนก็ไม่ได้ท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชัยชนะในการเลือกตั้งของกลุ่มที่ได้ครองอ านาจในรอบ
               นี้ ท่ามกลางกระแสที่ประชาชนดูเหมือนจะยอมรับกันว่าการทุจริตการเลือกตั้งนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นและรับรู้
               โดยทั่วไป อีกทั้งการก ากับดูแลและตรวจสอบกระบวนการเลือกตั้งนั้นไม่สามารถท าได้อย่างกว้างขวาง
               ครอบคลุม สิ่งที่จะตั้งข้อสังเกตก็คือ จากอดีตสู่ปัจจุบัน การเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรปราการนั้นเต็มไป

               ด้วยการกล่าวหาในแง่การทุจริต ในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ผ่านมาทั้งหมดห้าครั้งรวมถึง
               ครั้งนี้ มีการเปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้งจากการร้องเรียนการทุจริตครั้งหนึ่งในเดือนมีนาคม ปี 2547 อีกทั้ง
               นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอีกคนหนึ่งก็ต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่เนื่องจากมีส่วนในการทุจริตการเลือกตั้ง

               ในระดับเทศบาลเมื่อปี 2542 อาจกล่าวได้ว่าการทุจริตและความพัวพันกับการทุจริตการเลือกตั้งแทบจะเป็น
               อันหนึ่งอันเดียวกันกับชีวิตทางการเมืองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับจังหวัดของสมุทรปราการมา
               ตลอด และตัวผู้เล่นหลักและกลุ่มของพวกเขาก็ยังวนเวียนอยู่ในการเมืองของจังหวัดสมุทรปราการมานับตั้งแต่
               วันแรก


               8.2 นัยและคุณูปการทางทฤษฎีจากการวิจัย


                       งานวิจัยชิ้นนี้ย้อนกลับไปอภิปรายและอธิบายพลวัตของ “จักรกลการเมือง” ซึ่งเป็นแนวคิดที่ไม่ค่อย
               ได้รับความนิยมมากนักในการเมืองไทย เมื่อเทียบกับค าอธิบายเรื่องระบบอุปถัมภ์ (ทั้งวัฒนธรรมอุปถัมภ์และ
               การเมืองของระบบอุปถัมภ์ในการเลือกตั้งท้องถิ่น) และค าอธิบายเรื่องบ้าน/เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วย

               โครงสร้างอ านาจท้องถิ่น ซึ่งเป็นสองชุดค าอธิบายหลักในการศึกษาการเมืองและการเมืองในมิติของการ
               เลือกตั้งในระดับท้องถิ่น


                       การศึกษาเรื่องระบบอุปถัมภ์กับการเมืองในยุคแรกให้ความส าคัญกับบทบาทของระบบอุปถัมภ์ที่มีผล
               กับการเมือง โดยมองว่าระบบอุปถัมภ์นั้นเป็นวัฒนธรรมที่มีมาตั้งแต่อดีตและยังคงอยู่ในปัจจุบัน ขณะที่
               การศึกษาเรื่องการเมืองของระบบอุปถัมภ์ในการเลือกตั้งท้องถิ่นพยายามค้นหาพลวัตของระบบอุปถัมภ์ใน
               การเมืองท้องถิ่น โดยเฉพาะการเลือกตั้งในท้องถิ่น ด้วยความเข้าใจว่าระบบอุปถัมภ์นั้นสามารถพัฒนาออกเป็น




                          โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ   196
   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218   219