Page 213 - kpiebook64011
P. 213
ของหัวคะแนนมีความเข้มแข็ง เป็นระบบ และด ารงอยู่อย่างต่อเนื่อง เพื่อท าหน้าที่เป็นจักรกลคอยขับเคลื่อน
การเลือกตั้งในทุกระดับ การซื้อเสียงยังเชื่อมโยงกับการก่อรูปความสัมพันธ์ของคนภายในพื้นที่ โดยเฉพาะ
ความสัมพันธ์ระหว่างหัวคะแนนที่เป็นผู้น าชุมชนกับลูกบ้าน เพื่อป้องกันการแปลกแยกจากตัวผู้น าชุมชน การ
รับเงินซื้อเสียงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดเพื่อไม่ให้ลูกบ้านต้องเผชิญกับการถูกกีดกันออกจากระบบความช่วยเหลือ
ของรัฐ
ในส่วนพฤติกรรมทางการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงใน
การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ปี
2563 สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้
ประการแรก ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีความตื่นตัวและความสนใจในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งนี้ ดังจะเห็นได้
จากจ านวนผู้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งในปี 2563 สูงขึ้นกว่าการเลือกตั้งในปี 2554 จ านวน 170,993 คน หรือ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.86 ข้อมูลจากการส ารวจความเห็นกลุ่มตัวอย่างก็สะท้อนให้เห็นความตื่นตัวและความสนใจ
ต่อการเลือกตั้งเช่นกัน โดยกลุ่มตัวอย่างทุกคนให้ข้อมูลว่าได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในครั้งนี้ แต่ความ
สนใจที่จะติดตามความเคลื่อนไหวของผู้สมัครและข่าวการเลือกตั้งมีระดับความสนใจที่ต่างกันออกไป เมื่อ
พิจารณาลงไปในระดับเขตเลือกตั้งพบว่า จ านวนผู้ออกไปใช้สิทธิในเขตเมืองผสมกับเขตชนบท และเขตชนบท
สูงกว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเมือง นัยจากจ านวนผู้ออกไปใช้สิทธิดังกล่าวอาจอธิบายได้ว่า ความตื่นตัวของผู้มี
สิทธิเลือกตั้งในเขตเมืองต่ ากว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตชนบทและเขตเมืองผสมชนบท
ประการที่สอง การตัดสินใจเลือกหรือลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครรายใดรายหนึ่งมักมีเหตุผลประกอบการ
ตัดสินใจเสมอ แต่การตัดสินใจเลือกวางอยู่บนเงื่อนไขปัจจัยด้านใด ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยอันดับต้น ๆ
ที่กลุ่มตัวอย่างมักใช้ประกอบการตัดสินใจคือ ปัจจัยด้านความน่าสนใจของตัวผู้สมัคร และการที่ผู้สมัครสังกัด
กลุ่มการเมืองในระดับท้องถิ่น ส่วนปัจจัยรองลงมาที่กลุ่มตัวอย่างจะพิจารณาประกอบการตัดสินใจคือ ปัจจัย
กระแสการเมืองในระดับประเทศ นโยบายที่ผู้สมัครใช้หาเสียง และรูปแบบและวิธีการหาเสียงของผู้สมัคร
ส าหรับปัจจัยอันดับท้าย ๆ ที่กลุ่มตัวอย่างจะหยิบยกขึ้นมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจคือ ประเด็นที่ผู้สมัคร
เป็นทายาทของนักการเมืองหรือตระกูลการเมืองในพื้นที่ ข้อมูลความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างคงไม่สามารถ
สะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจต่อการเมืองในท้องถิ่นได้อย่างลึกซึ้งเพียงใด รวมถึงสามารถ
ประเมินผลการปฏิบัติงานของนักการเมืองท้องถิ่นตามหลักวิชาการบริหารภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ทัศนคติของ
กลุ่มตัวอย่างสามารถบ่งชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยด้านอารมณ์ ความรู้สึก และการรับรู้แบบใดที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมักให้
ความสนใจและน าไปสู่การลงคะแนนเสียง กล่าวอย่างเป็นระบบคือ แม้ว่าการส ารวจความคิดเห็นจากกลุ่ม
ตัวอย่างอาจมีอ านาจในการอธิบายการตัดสินใจเลือกตั้งแบบทบทวนผลงานที่ผ่านมาได้ต่ า แต่สามารถสะท้อน
ให้ว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะตัดสินใจเลือกผู้น าของพวกเขาบนฐานของอารมณ์ ความรู้สึก และการรับรู้ในรูปแบบใด
การจัดการเลือกตั้งเป็นอีกประเด็นที่การศึกษาครั้งนี้ให้ความสนใจผลจากการศึกษาการจัดการ
เลือกตั้งทั้งถิ่นในปี 2563 ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการสามารถสรุปสาระส าคัญได้ดังนี้
ประการแรก ข้อร้องเรียนต่อการจัดการเลือกตั้งสะท้อนให้เห็นปัญหาในสี่ด้าน ด้านแรก การตรวจสอบ
ข้อมูลและคุณสมบัติของผู้สมัครที่ยังไม่ละเอียดพอที่จะขจัดความสงสัยเกี่ยวกับภูมิหลังของผู้สมัคร ด้านที่สอง
แนวปฏิบัติเพื่อเตรียมการเลือกตั้งยังเกิดความคลาดเคลื่อนไปจากแนวปฏิบัติกลางที่ถูกก าหนดไว้ จนท าให้เกิด
การตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความโปร่งใส ด้านที่สาม การพบเห็นแนวทางการหาเสียงเลือกตั้งที่อยู่นอกเหนือไปจาก
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 195