Page 208 - kpiebook64011
P. 208

เมื่อน าข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้งและหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบไปพิจารณาร่วมกับปัญหา
               ในการจัดการเลือกตั้งที่กล่าวไว้ในเนื้อหาส่วนแรกจะพบว่า การจัดการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การ

               บริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ปี 2563 มีปัญหาในสองช่วงเวลากล่าวคือ

                       ช่วงการเตรียมการเลือกตั้ง จากการร้องเรียนคุณสมบัติของผู้สมัครบางรายว่าไม่เป็นไปตามที่กฎหมาย

               ก าหนด สะท้อนให้เห็นว่าในขั้นตอนของการรับสมัครและตรวจสอบคุณสมบัติ ซึ่งด าเนินการโดยผู้อ านวยการ
               เลือกตั้งประจ าองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการยังประสบปัญหาอยู่ เพราะไม่สามารถตรวจสอบ
               คุณสมบัติของผู้สมัครให้รายละเอียดและสิ้นข้อสงสัยได้ อีกทั้งในช่วงเตรียมการเลือกตั้งยังพบข้อร้องเรียน
               เกี่ยวกับแนวปฏิบัติในการจัดเก็บอุปกรณ์ที่ใช้ในการลงคะแนนเสียงยิ่งสะท้อนว่า การเตรียมการเลือกตั้ง

               จ าเป็นต้องมีแนวปฏิบัติที่เอื้อให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด าเนินการได้อย่างถูกต้อง

                       ช่วงวันเลือกตั้ง ปัญหาข้อร้องเรียนที่เหลือเกี่ยวข้องกับกระบวนการในวันเลือกตั้งกล่าวคือ ประเด็น

               การแจกเงิน และการข่มขู่คุกคามผู้มีสิทธิเลือกตั้งในวันเลือกตั้ง อาจสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการ
               ท างานของผู้ตรวจการเลือกตั้ง รวมถึงการเฝ้าระวังการทุจริตโดยภาคประชาสังคมและสถาบันวิชาการ ที่ไม่
               สามารถก ากับและควบคุมปัญหาด้านนี้ได้ จ านวนบัตรเลือกตั้งและจ านวนผู้มาใช้สิทธิที่ไม่ตรงกันเป็นอีกปัญหา
               ที่สะท้อนการด าเนินการในวันเลือกตั้ง แม้ว่าเจ้าหน้าที่ในหน่วยเลือกตั้งจะได้รับการอบรมการท าหน้าที่มาแล้ว

               แต่ความผิดพลาดย่อมเกิดขึ้นได้ เพราะการเร่งตรวจสอบคุณสมบัติเพื่อไม่ให้ผู้มาใช้สิทธิรอนานจนเกินไป และ
               การเร่งนับคะแนนเพื่อให้ได้ผลคะแนนไม่ดึกมากนัก อาจเป็นสาเหตุที่น าไปสู่ความผิดพลาดด้านนี้ได้


               สรุป


                       จากการวิเคราะห์การจัดการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ
               ปี 2563 สามารถสรุปสาระส าคัญได้ดังนี้


                       ประการแรก ข้อร้องเรียนต่อการจัดการเลือกตั้งสะท้อนให้เห็นปัญหาในสี่ด้าน ด้านแรก การตรวจสอบ
               ข้อมูลและคุณสมบัติของผู้สมัครที่ยังไม่ละเอียดพอที่จะขจัดความสงสัยเกี่ยวกับภูมิหลังของผู้สมัคร ด้านที่สอง
               แนวปฏิบัติเพื่อเตรียมการเลือกตั้งยังเกิดความคลาดเคลื่อนไปจากแนวปฏิบัติกลางที่ถูกก าหนดไว้ จนท าให้เกิด
               การตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความโปร่งใส ด้านที่สาม การพบเห็นแนวทางการหาเสียงเลือกตั้งที่อยู่นอกเหนือไปจาก
               ที่กฎหมายก าหนด ไม่ว่าจะเป็นการแจกเงิน การข่มขู่คุกคามเพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งตัดสินใจเลือกผู้สมัครตามที่

               หัวคะแนนต้องการ และด้านที่สี่ ความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ในหน่วยเลือกตั้ง

                       ประการที่สอง หน่วยงานหลักสี่หน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งนี้ประกอบไป

               ด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งในส่วนกลาง คณะกรรมการการเลือกตั้งประจ าจังหวัดสมุทรปราการ
               คณะกรรมการการเลือกตั้งประจ าองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ และผู้อ านวยการการเลือกตั้ง
               ประจ าองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ อีกทั้งยังมีกลุ่ม We Watch ในฐานะกลุ่มประชาสังคม

               สถาบันทางพระปกเกล้าในฐานะสถาบันวิชาการ และผู้ตรวจการเลือกตั้งในฐานะคณะกรรมการตรวจสอบจาก
               คณะกรรมการการเลือกตั้งในส่วนกลาง ท าหน้าที่เฝ้าระวังและประเมินการจัดการเลือกตั้ง บทบาทหน้าที่และ
               โครงสร้างความสัมพันธ์ของหน่วยงานดังกล่าวสามารถจ าลองออกมาได้ดังนี้ (พิจารณาแผนภาพ 7.1) อย่างไรก็
               ตาม บทบาทของภาคส่วนประชาสังคม สถาบันวิชาการ และผู้ตรวจการเลือกตั้งมักด าเนินไปในฐานะผู้เฝ้า







                          โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ   190
   203   204   205   206   207   208   209   210   211   212   213