Page 219 - kpiebook64011
P. 219

เกินไปจากรูปแบบที่ก าหนดทั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งและผู้ด ารงต าแหน่งการเมืองรวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐจะต้อง
               รับผิดชอบต่อการละเมิดข้อบังคับอย่างไร ข้อก าหนดดังกล่าวจะช่วยวางแนวการตรวจสอบความสัมพันธ์

               ระหว่างผู้สมัครรับเลือกตั้งและผู้มีต าแหน่งทางการเมืองให้แก่สาธารณะได้น าไปใช้เพื่อตรวจตราความผิดปกติ

                       ประการที่สอง ประกาศหลักเกณฑ์ และวิธีการปิดประกาศและแผ่นป้ายหาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัคร

               รับเลือกตั้ง แม้จะมีการก าหนดจุดที่สามารถและไม่สามารถปิดประกาศและติดตั้งป้ายหาเสียงเอาไว้ แต่ผู้สมัคร
               ล้วนติดตั้งประกาศและแผ่นป้ายหาเสียงนอกเหนือจากพื้นที่ที่ถูกก าหนดไว้ทั้งสิ้น ดังนั้นการจัดการพื้นที่หา
               เสียงเลือกตั้งเพื่อไม่ให้กระทบกับการใช้ชีวิตของผู้คนจึงไปเป็นได้ยากอย่างยิ่ง ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงมีความเห็น
               ว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งประจ าองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการในฐานะหน่วยงานผู้มีหน้าที่ออก

               ประกาศฉบับนี้ควรด าเนินการตรวจตราการติดตั้งประกาศและป้ายหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งอย่าง
               สม่ าเสมอและควรรื้อถอนประกาศและป้ายหาเสียงในพื้นที่ต้องห้ามหรือพื้นที่ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิต
               ของผู้คนโดยทันที


                       ประการที่สาม ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ในบางหน่วยเลือกตั้ง
               ในการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ คณะกรรมการการเลือกตั้งได้
               ประกาศให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่บางหน่วยในหลายจังหวัด เหตุผลส าคัญที่ถูกอธิบายไว้ในประกาศดัง

               กล่าวคือ จ านวนบัตรเลือกตั้งและจ านวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ตรงกัน จึงจ าเป็นต้องจัดการเลือกตั้งอีกรอบ
               เพื่อยืนยันผลคะแนนและจ านวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง อย่างไรก็ตามเมื่อมีการประกาศผลคะแนนการเลือกตั้ง
               ใหม่แล้วกลับไม่มีการชี้แจงเหตุผลหรืออธิบายสาเหตุที่ท าให้เกิดความผิดพลาดเชิงตัวเลขดังกล่าว ดังนั้น
               คณะผู้วิจัยจึงเสนอแนะให้คณะกรรมการการเลือกตั้งควรสอบสวนความผิดพลาดเชิงตัวเลขและอธิบายสาเหตุ

               แห่งความผิดพลาดนั้นแก่สาธารณะเพื่อท าให้กระบวนการนับคะแนนโปร่งใส่มากยิ่งขึ้น

                      8.3.2 ข้อเสนอแนะต่อการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น


                      ประการแรก แนวปฏิบัติในการจัดการเลือกตั้งซึ่งก าหนดจากส่วนกลางมักเกิดช่องว่างให้ผู้ปฏิบัติงานใน
               พื้นที่ต้องตีความและบริหารสถานการณ์เอง ดังในกรณีการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วน

               จังหวัดสมุทรปราการ ปี 2563 ซึ่งมีปัญหาการตีความพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเก็บหีบบัตรเลือกตั้ง โดยการ
               ตีความของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานไม่ตรงกันกับการตีความของคณะกรรมการการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม
               คณะกรรมการการเลือกตั้งเองก็ไม่สามารถก าหนดแนวปฏิบัติที่สามารถครอบคลุมทุกปัญหาหรือทุกเหตุการณ์

               ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าในแต่ละพื้นที่ได้ ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงเสนอว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งควรมอบอ านาจ
               ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในระดับพื้นที่สามารถวินิจฉัยสถานการณ์ที่นอกเหนือไปจากข้อก าหนดของคณะกรรมการ
               การเลือกตั้ง เพื่อให้การจัดการเลือกตั้งด าเนินไปอย่างราบรื่นและลดภาระของคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดย
               ไม่ต้องมาคอยวินิจฉัยเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ถูกร้องเรียนและไต่ถามขึ้นไปจากพื้นที่


                      ประการที่สอง ในช่วงเวลาการนับคะแนน ผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งมักมีข้อร้องเรียนหรือข้อท้วงติงต่อ
               ความสมบูรณ์ของบัตรเลือกตั้งอยู่เป็นระยะ ข้อร้องเรียนหรือข้อท้วงติงต่อบัตรเลือกตั้งมักมีรายละเอียด

               ปลีกย่อยที่อยู่นอกเหนือไปจากแนวทางการวินิจฉัยที่คณะกรรมการการเลือกตั้งก าหนด จึงต้องอาศัยการตัดสิน
               วินิจฉัยจากกรรมการประจ าหน่วยเลือกตั้ง แต่บางครั้งการตัดสินวินิจฉัยของกรรมการประจ าหน่วยเลือกตั้งก็
               ไม่ได้รับการยอมรับจากผู้เฝ้าสังเกตการณ์ ท าให้กรรมการประจ าหน่วยเลือกตั้งต้องส่งข้อร้องเรียนไปให้
               คณะกรรมการเลือกตั้งประจ าจังหวัดเป็นผู้วินิจฉัย การส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจ าจังหวัด




                          โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ   201
   214   215   216   217   218   219   220   221   222   223   224