Page 31 - kpiebook64008
P. 31

พฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วน
              จังหวัดเชียงใหม่


                       3. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการวิจัยเชิงส ารวจ (Survey Research) ในช่วงก่อนการเลือกตั้งผู้วิจัย
              ได้แบ่งกลุ่มตัวอย่างของการเก็บรวบรวมข้อมูลส ารวจความคิด ความรู้ทางการเมืองและการเลือกตั้ง อบจ. ออกเป็น
              2 กลุ่ม คือ เก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยกลุ่มเยาวชนอายุ 18-24 ปี ได้แก่ นักศึกษาในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ านวน 400
              ตัวอย่าง โดยมีการกระจายสุ่มตัวอย่างไปทุกคณะในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอีกกลุ่ม คือ กลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
              จ านวน 15 อ าเภอ จากทั้งหมด 25 อ าเภอในจังหวัดเชียงใหม่ จ านวน 236 ตัวอย่าง ซึ่งแบบสอบถามเป็นการส ารวจ

              ความคิดเห็นและปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง


                       การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงส ารวจ

                       ภายหลังจากการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ท าการวิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติเบื้องต้น ได้แก่ ร้อยละ
              ความถี่พร้อมการน าเสนอข้อมูลในการวิจัยเป็นการน าเสนอในรูปแบบของการพรรณนา เพื่อศึกษาความคิดเห็นและ
              พฤติกรรมทางการเมืองและปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงของผู้มีสิทธิเลือกตั้งจังหวัดเชียงใหม่


                       การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อน าไปสู่ผลการศึกษาวิจัย

                       ภายหลังจากการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยได้ท าการสกัดข้อมูลจากการสังเกต สัมภาษณ์ และจัดกลุ่มข้อมูล
              ด้วยการตรวจสอบข้อมูลสามเส้า (Data Triangulation) คือ การตรวจสอบเวลา พื้นที่ บุคคลว่ามีความเหมือนหรือมี
              ความต่างกันหรือไม่เพราะเหตุใด โดยน ามาวิเคราะห์ร่วมกับทฤษฎีที่น ามาใช้เป็นกรอบแนวคิดในการวิเคราะห์ โดยใช้

              แนวทางในการวิเคราะห์ตีความจากประเด็นและการปรากฏของภาพ เสียงและเนื้อหาของข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ
              (Interpretative Analysis) และการวิเคราะห์เชิงอรรถาธิบาย (Descriptive Analysis) ที่ส าคัญการน าเสนอข้อมูลใน
              การวิจัยเป็นการน าเสนอในรูปแบบของการพรรณนาและอธิบายบริบท สภาพแวดล้อมทางการเมือง การน าเสนอ
              ข้อเท็จจริงของพื้นที่จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั้งที่เปิดเผยและไม่เปิดเผยเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการวิจัยและน าไปสู่

              ข้อสรุปของงานวิจัย


                       ข้อจ ากัดของการวิจัย

                       ข้อจ ากัดที่เป็นปรากฎการณ์ส าคัญที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างการเลือกตั้ง คือ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ
              ไวรัสโคโรนา 2019 ถึงแม้ในช่วงเวลาของการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดจะเป็นช่วงท้ายของการแพร่ระบาด

              ระลอก 2 แต่ความน่ากังวลในการลงพื้นที่ รวมถึงการรวมตัวของคนตามเวทีการปราศรัยหรือพื้นที่ชุมชน ยังคงเป็นสิ่ง
              ที่ท้าทายทั้งนักวิจัยและผู้สมัครรับเลือกตั้ง ในประเด็นดังนี้

                       1. การเข้าถึงข้อมูลของนักวิจัยต้องอาศัยการติดต่อ ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ (connection) ค่อนข้างมาก
                         โดยเฉพาะความไว้วางใจในการให้ข้อมูลของผู้ให้ข้อมูลเป็นสิ่งที่นักวิจัยต้องค านึงถึงมาก เพราะความ

                         หวาดระแวงทางการเมือง เนื่องจากคู่ต่อสู้ส าคัญในสนามการเลือกตั้งครั้งนี้ คือ กลุ่มการเมืองที่เป็นตระกูล
                         การเมือง มีบทบาททั้งการเมืองและธุรกิจมาอย่างยาวนานต่อสู้ช่วงชิงกับพรรคการเมืองใหญ่ผู้ครองพื้นที่
                         เชียงใหม่ คือ พรรคเพื่อไทย





                   โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่   10
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36