Page 33 - kpiebook64008
P. 33
บทที่ 2
ข้อมูล สถิติเกี่ยวกับการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
ในบทนี้จะเป็นการน าเสนอข้อมูลพื้นฐาน ที่มาขององค์การบริหารส่วนจังหวัด และองค์การบริหารส่วน
จังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับสถิติตัวเลขซึ่งเป็นข้อมูลจากการรวบรวมโดยผู้วิจัยและข้อมูลที่ได้มี
การเผยแพร่อย่างเป็นทางการจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่และส านักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ประจ าจังหวัดเชียงใหม่ จากข้อมูลเหล่านี้สามารถท าให้เข้าใจนัยทางการเมืองท้องถิ่นของจังหวัดเชียงใหม่ในการ
เลือกตั้งทุกระดับได้ โดยแบ่งประเด็นน าเสนอข้อมูลออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 2.1 ที่มาของการเลือกตั้ง อบจ. และข้อมูล
พื้นฐานเกี่ยวกับ อบจ.เชียงใหม่ และ 2.2 ข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
2.1 ที่มาของการเลือกตั้ง อบจ. และข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับ อบจ.เชียงใหม่
องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่เป็นองค์กรส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งซึ่งมีขนาดใหญ่ในหน่วยงานบริหาร
ราชการส่วนท้องถิ่นและมีวิวัฒนาการที่ยาวนาน โดยเกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2479 ตามความในพระราชบัญญัติ
จัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2479 ฐานะของสภาจังหวัดตามพระราชบัญญัตินี้ มีลักษณะองค์กรที่ท าหน้าที่ให้ค าปรึกษา
หรือแนะน าแก่กรมการจังหวัด โดยมีฐานะเป็นนิติบุคคลที่แยกออกจากราชบริหารส่วนท้องถิ่น ต่อมาในปี พ.ศ. 2481
ได้มีการตราพระราชบัญญัติสภาจังหวัด พ.ศ. 2481 โดยมีความประสงค์ที่จะแยกกฎหมายที่เกี่ยวกับสภาจังหวัด
ไว้โดยเฉพาะ แต่สภาจังหวัดยังมีอ านาจหน้าที่เป็นสภาที่ปรึกษาของกรรมการจังหวัดเดิม จนกระทั่ง พ.ศ. 2495
ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินโดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าส่วนราชการ
มีอ านาจหน้าที่ในการบริหารราชการในจังหวัดของกระทรวงทบวงกรมต่างๆ ท าให้อ านาจของกรมการจังหวัด
เป็นอ านาจของผู้ว่าราชการจังหวัด และสภาจังหวัดมีสถานะเป็นสภาที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด (ประทีป พืช
ทองหลวง, 2560)
ต่อมาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ถูกจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด
พ.ศ. 2498 สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยมีฐานะเป็นนิติบุคคล แยกจากการบริหารราชการจังหวัดในฐานะที่เป็น
ราชการส่วนภูมิภาค (องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่, ม.ป.ป.ข.) โดยก าหนดอ านาจหน้าที่ขององค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดให้ด าเนินกิจการส่วนภายในจังหวัดซึ่งอยู่นอกเขตเทศบาล สุขาภิบาล และหน่วยการปกครองท้องถิ่น
รูปแบบอื่น ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขพื้นที่ทับซ้อนในการ
ด าเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและองค์การบริหารส่วนต าบล (อบต.) ทั้งการด าเนินการจัดเก็บภาษี
ค่าธรรมเนียม และรายได้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้น
อโณทัย วัฒนาพร (2563, น. 2-4) ได้ท าการศึกษาวิวัฒนาการของการแข่งขันทางการเมืองในระดับท้องถิ่น
โดยเฉพาะการแข่งขันในการเลือกตั้ง อบจ. ซึ่งได้แบ่งวิวัฒนาการของ อบจ. ออกเป็น 4 ยุค ได้แก่
ยุคเตรียมความพร้อม พ.ศ. 2476-2498 เป็นยุคของการก าเนิดแนวคิดและแนวทางในการบริหารจัดการ
ระดับภูมิภาค เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสนาม พ.ศ. 2476
ซึ่งในตอนต้น การจัดรูปองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งเป็นการปกครองท้องถิ่นรูปหนึ่งที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้มีการจัดให้มี
สภาจังหวัดขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2476 ตามความในพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 ซึ่งนับเป็น
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ 12