Page 30 - kpiebook64008
P. 30

การวิเคราะห์ข้อมูลเอกสาร

                       ภายหลังจากการเก็บรวบรวมข้อมูลเอกสาร (Documentary Data) ผู้วิจัยได้ท าการสกัดข้อมูลเนื้อหาจาก

              เอกสาร โดยใช้การวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Analysis) และการวิเคราะห์เชิงอรรถาธิบาย (Descriptive
              Analysis) ที่ส าคัญการน าเสนอข้อมูลในการวิจัยเป็นการน าเสนอในรูปแบบของการพรรณนาและอธิบายบริบท
              สภาพแวดล้อมทางการเมือง การน าเสนอข้อเท็จจริงของพื้นที่จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั้งที่เปิดเผยและไม่เปิดเผยเพื่อน าไปสู่
              ข้อสรุปของงานวิจัย

                       2. การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยภาคสนาม (Field Research) ประกอบด้วย

                       การสังเกตจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเป็นการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมในพื้นที่ในช่วงก่อน
              การเลือกตั้งโดยเน้นข้อมูลบริบทและมิติความเป็นชุมชนการเมืองในพื้นที่เมืองเชียงใหม่และรอบนอกเมืองโดยเฉพาะ

              บางอ าเภอที่มีนัยส าคัญต่อการหาเสียงและการต่อสู้ทางการเมืองในพื้นที่ที่เข้มข้น โดยอิงข้อมูลบางส่วนมาจากการ
              เลือกตั้งทั่วไปวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 โดยการสังเกตจะเป็นการบันทึก และวิเคราะห์บรรยากาศทั่วไป บริบททาง
              การเมือง การแสดงออกและบทบาทของทั้งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้สนับสนุนการเลือกตั้ง และประชาชน โดยมีการเข้า

              ร่วมตั้งแต่วันรับสมัครรับเลือกตั้ง การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมือง กลุ่มการเมืองและผู้สมัครพรรคต่าง ๆ
              นอกจากนี้

                       การสัมภาษณ์กลุ่ม (Focus-group Interview)  จากกลุ่มผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และผู้ช่วยหาเสียง
              ของผู้สมัครนายก อบจ. นอกจากนี้จะเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ให้ข้อมูล (Key Informants)
              ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง กรรมการการเลือกตั้งประจ าจังหวัด กรรมการการเลือกตั้งประจ า

              หน่วยเลือกตั้งและหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และองค์กรต่าง ๆ ที่รณรงค์เกี่ยวกับการเลือกตั้ง เป็นต้น โดยมีทั้งค าถาม
              กึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง คือ การก าหนดชุดค าถามที่น ามาสู่ข้อมูลในการน าไปวิเคราะห์เพื่อแยกแยะความ
              แตกต่างและความเหมือนในประเด็นเดียวกัน การสัมภาษณ์ที่เน้นประเด็นค าส าคัญเพื่อให้ผู้ถูกสัมภาษณ์สามารถแสดง
              ความคิดเห็นอย่างอิสระและเน้นการเก็บประเด็นจากค าตอบของผู้ให้สัมภาษณ์ โดยเฉพาะประเด็นค าถามทาง

              การเมืองที่อาจมีผลต่อความรู้สึกและกระทบบริบทในการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยจะต้องอาศัยประสบการณ์และความรู้
              ในการปรับเปลี่ยนค าถาม และการให้ประเด็นของการแสดงความคิดเห็นมากกว่าการตัดสินเพื่อการวิพากษ์วิจารณ์


                       การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

                       ภายหลังจากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมในพื้นที่และการสัมภาษณ์
              กลุ่ม (Focus-group Interview) ผู้วิจัยได้ท าการสกัดข้อมูลจากการสังเกต สัมภาษณ์ และจัดกลุ่มข้อมูลด้วยการ

              ตรวจสอบข้อมูลสามเส้า (Data Triangulation) คือ การตรวจสอบเวลา พื้นที่ และบุคคลว่ามีความเหมือนหรือมีความ
              ต่างกันหรือไม่เพราะเหตุใด โดยน ามาวิเคราะห์ร่วมกับทฤษฎีที่น ามาใช้เป็นกรอบแนวคิดในการวิเคราะห์ โดยใช้แนวทาง
              ในการวิเคราะห์ตีความจากประเด็นและการปรากฏของภาพ เสียงและเนื้อหาของข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ  (Interpretative

              Analysis) และการวิเคราะห์เชิงอรรถาธิบาย (Descriptive Analysis) ที่ส าคัญการน าเสนอข้อมูลในการวิจัยเป็น
              การน าเสนอในรูปแบบของการพรรณนาและอธิบายบริบท สภาพแวดล้อมทางการเมือง การน าเสนอข้อเท็จจริงของพื้นที่
              จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั้งที่เปิดเผยและไม่เปิดเผยเพื่อน าไปสู่ การวิเคราะห์รูปแบบวิธีการในการหาเสียงเลือกตั้งและ







                   โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่   9
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35