Page 34 - kpiebook64008
P. 34
จุดก าเนิดและรากฐานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ฐานะของสภาจังหวัดตามพระราชบัญญัตินี้มีลักษณะ
เป็นองค์กรที่ท าหน้าที่ให้ค าปรึกษาแก่กรมการจังหวัดเสมือนเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหาร
ราชการแผ่นดินในจังหวัดและให้ความเห็นชอบในการจัดท าแผนพัฒนาจังหวัดโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน
โดยยังมิได้มีฐานะเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นและเป็นนิติบุคคลที่แยกต่างหากจากราชการบริหารส่วนภูมิภาค
(ชูวงศ์ ฉายะบุตร, 2539, น. 103-104)
ยุคการก าเนิดองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498-2540 ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม
เป็นนายกรัฐมนตรีได้มีความพยายามการท าให้โครงสร้างส่วนภูมิภาคเข้มแข็งด้วยการกระจายอ านาจมายังโครงสร้าง
ในระดับจังหวัด คือ การปรับปรุงบทบาทของสภาจังหวัด ด้วยการตราพระราชบัญญัติระเบียบราชการส่วนจังหวัด
พ.ศ.2498 ซึ่งก าหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล ให้ฝ่ายนิติบัญญัติหรือสมาชิกสภาองค์การ
บริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) มาจากการเลือกตั้งของประชาชน (อโณทัย วัฒนาพร, 2563, น. 3) นอกจากนี้ยังการตรา
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 โดยก าหนดให้กรุงเทพฯ มีฐานะเป็นหน่วยการ
ปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเพื่อให้มีความเป็นอิสระในการด าเนินงานมากขึ้น (ไททัศน์ มาลา, 2554 หน้า 32)
กระแสความตื่นตัวในการปฏิรูปทางการเมืองและการกระจายอ านาจสู่ท้องถิ่นเป็นอย่างมาก ภายหลังเหตุการณ์
ทางการเมืองพฤษภาทมิฬ เป็นเหตุของการเรียกร้องการกระจายอ านาจและการมีส่วนร่วมผ่านกลไกของการปกครอง
ส่วนท้องถิ่น ความเปลี่ยนแปลงส าคัญของช่วงเวลานี้ คือ การตราพระราชบัญญัติสภาต าบลและองค์การบริหารส่วน
ต าบล พ.ศ. 2537 การก าหนดเขตต าบลที่ไม่ได้อยู่ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาล เพื่อจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วน
ต าบล (อบต.) มีการตราพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 (พ.ร.บ. อบจ. 2540) ก าหนดให้
องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) มีเขตพื้นที่ครอบคลุมเขตของจังหวัดแม้ว่าจะทับซ้อนกับพื้นที่ของท้องถิ่นอื่นก็ตาม
(สถาบันพระปกเกล้า, 2545) บทบาทหน้าที่ของ อบจ. จึงเป็นผู้ประสานเชื่อมการพัฒนาของหน่วยการปกครองส่วน
ท้องถิ่นอื่นๆ ที่มีล าดับพื้นที่เล็กมา ใน พ.ร.บ.อบจ. 2540 ก าหนดให้โครงสร้างการบริหารออกเป็น 2 ส่วน คือ
สภา อบจ.ท าหน้าที่นิติบัญญัติ นายก อบจ. ท าหน้าที่บริหาร โดยสภา อบจ.ท าหน้าที่เลือกนายก อบจ. (ส านักงาน
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี, 2540)
ปฏิเสธไม่ได้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับ พ.ศ. 2540 เป็นกลไกทางกฎหมายที่ส าคัญที่เร่งเร้า
การเติบโตของการกระจายอ านาจและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยได้ก าหนดไว้ใน หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐาน
แห่งรัฐ มาตรา 78 (3) คือ การกระจายอ านาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการของ
ท้องถิ่นได้เอง ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการด าเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
(รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540) นอกเหนือจากนี้ในมาตราเดียวกันยังก าหนดให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจ
ของท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ โดยค านึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนนั่นหมายความว่าเป็น
การเน้นให้เกิดการพึ่งพาตนเองตัดสินใจในกิจการของท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น และระบบสาธารณูปโภค
และสาธารณูปการ มีการบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเองจนสามารถพัฒนาจังหวัด
ให้มีความพร้อมเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่
การเติบโตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในช่วงปลายของยุคนี้ปรากฎชัดเจนใน หมวด 9 รวม 9 มาตรา
ในรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 ตั้งแต่มาตรา 282 ถึงมาตรา 290 สรุปได้ว่า รัฐจะต้องให้ความเป็นอิสระแก่ท้องถิ่น
ตามหลักแห่งการปกครองตนเอง ตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหลาย
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ 13