Page 35 - kpiebook64008
P. 35

ย่อมมีอิสระในการก าหนดนโยบายการปกครอง การบริหารงานบุคคล การเงิน และการคลัง และมีอ านาจหน้าที่ของ
              ตนเองโดยเฉพาะ โดยรัฐบาลเป็นผู้ก ากับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเท่าที่จ าเป็นภายในกรอบของกฎหมาย


                       ยุคแห่งการกระจายอ านาจ พ.ศ. 2540-2545 ได้มีการตราพระราชบัญญัติก าหนดแผนและขั้นตอน
              การกระจายอ านาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 โดยมีสาระส าคัญเกี่ยวกับการก าหนดอ านาจหน้าที่
              ในการจัดท าบริการสาธารณะและการจัดสรรภาษีอากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และก าหนดให้มี
              คณะกรรมการการกระจายอ านาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ.) ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดท าแผนการกระจาย
              อ านาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ไททัศน์ มาลา, 2560, น. 351)


                       ในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ฉบับที่ 3)
              พ.ศ. 2546 เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดใหม่จากเดิมที่ก าหนดให้นายก
              องค์การบริหารส่วนจังหวัดมาจากการเลือกตั้งของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดก าหนด เปลี่ยนให้นายก
              องค์การบริหารส่วนจังหวัดมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนในจังหวัด รวมทั้งก าหนดอ านาจหน้าที่และ

              ความสัมพันธ์ระหว่างสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดให้มีความเหมาะสม สามารถ
              บริหารตามนโยบายที่แถลงต่อประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถบริหารงานเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนได้ดี
              ยิ่งขึ้น ส าหรับองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ใช้กฎหมายฉบับนี้เป็นแห่งแรกคือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์
              ซึ่งครบวาระเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 และได้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและสมาชิก

              สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแล้วเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (ส านักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร
              ของราชการ, 2556)

                       ยุคท้องถิ่นเปลี่ยนผ่านกับการเมืองผันผวน พ.ศ. 2546 – ปัจจุบัน

                       แม้ว่าจะมีการกระจายอ านาจอย่างเข้มข้นภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 แต่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
              ทั้งการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 และการเกิดขึ้นของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปี พ.ศ. 2550 แนวทาง
              การกระจายอ านาจก็ยังคงปรากฎอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จึงท าให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังคงเป็นกลไกหลัก

              ในการขับเคลื่อนพัฒนาท้องถิ่นจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 284 ก าหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
              มีสภาท้องถิ่นและคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น โดยสมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้งคณะผู้บริหาร
              ท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนหรือมาจากความเห็นชอบของสภาท้องถิ่นท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

              โครงสร้างภายในของท้องถิ่นให้อยู่ในรูปของสภา-ฝ่ายบริหาร (Council-Executive) (วุฒิสาร ตันไชย, 2557, น. 47)
                       ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงรัฐบาล การต่อสู้ของกลุ่มการเมือง

              พรรคการเมือง เกิดการเมืองการเคลื่อนไหวบนท้องถนน จนน าไปจนสู่การท ารัฐประหารอีกครั้ง เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม
              พ.ศ. 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) น าโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ท าการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่ง
              ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 และได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี พ.ศ. 2557 ในเวลาต่อมาได้มีประกาศ

              คณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 85/2557 เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นการชั่วคราว
              ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ให้งดการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นที่ครบวาระหรือ
              พ้นจากต าแหน่งตามกฎหมาย ว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจนกว่าจะมีการประกาศเปลี่ยนแปลง
              อาจกล่าวได้ว่า จากจุดเริ่มต้นมาสู่ยุคของการเติบโตของการกระจายอ านาจและบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
              จนกระทั่งการเมือง คือ บริบทที่ส่งผลต่อการชะงักงันของกระบวนการเรียนรู้การเมือง การมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่น





                   โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่   14
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40