Page 28 - kpiebook64008
P. 28

1.4 ขอบเขตการศึกษาวิจัย


                       ในการศึกษาวิจัย มีก าหนดระยะเวลาในการเก็บรวมรวมข้อมูลในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 – มกราคม
              พ.ศ. 2564

                       ขอบเขตประชากร ในการศึกษาวิจัยนี้เป็นการเลือกโดยใช้ทั้งหลักการเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลตามวัตถุประสงค์
              ตามแนวทางของการวิจัยเชิงคุณภาพ และการเลือกสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายตามแนวทางการวิจัยเชิงส ารวจ ซึ่งกลุ่มผู้ให้

              ข้อมูลที่ถูกเลือกมาตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย (Purposive Sampling) ได้แก่

                       1.  ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ประกอบด้วย ผู้ลงสมัคร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และสมาชิกสภาองค์การ
                          บริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ตัวแทนพรรคการเมือง จ านวน 12 คน
                       2.  เจ้าหน้าที่รัฐ พนักงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง เช่น เจ้าหน้าที่ส านักคณะกรรมการ

                          การเลือกตั้ง ปลัดอ าเภอ จ านวน 5 คน
                       3.  นักวิชาการทางรัฐศาสตร์ จ านวน 3 คน
                       4.  เครือข่ายการเมืองในพื้นที่การเมืองและกลุ่มการเมืองที่มีความเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งทั้งในระดับชาติ
                          และท้องถิ่น เช่น ผู้น าท้องถิ่นในพื้นที่ทั้งในเขตอ าเภอเมืองและอ าเภอรอบนอก รวมทั้งผู้สนับสนุน
                          ทางการเมืองในรูปแบบหัวคะแนนและผู้ที่มีความนิยมภักดีต่อผู้สมัครหรือพรรคการเมือง ผู้ช่วยหาเสียง

                          ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ จ านวน 15 คน
                       5.  ประชาชนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เป็นกลุ่ม
                          นักศึกษา (คนรุ่นใหม่) และประชาชนทั่วไปโดยแบ่งเป็นกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อาศัยในเขตอ าเภอเมือง

                          และเขตอ าเภอรอบนอกอ าเภอเมืองเชียงใหม่ โดยอาศัยวิธีการเชิงปริมาณด้วยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย
                          (Simple Random Sampling) ประกอบด้วย

                           5.1 ประชาชนที่อาศัยอยู่ใน 15 อ าเภอของจังหวัดเชียงใหม่และมีสิทธิเลือกตั้ง จ านวน 236 ตัวอย่าง
                           5.2 เยาวชนอายุ 18-24 ปี คือ นักศึกษาในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ านวน 400 ตัวอย่าง


                       ขอบเขตเนื้อหา การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาที่เน้นศึกษาสถานการณ์และปรากฎการณ์ของการเลือกตั้ง
              นายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีแนวคิดเกี่ยวกับการเลือกตั้งท้องถิ่นและการรณรงค์หาเสียง
              เลือกตั้ง และการเมืองในการเลือกตั้ง โดยเฉพาะการศึกษารูปแบบ วิธีการในการต่อสู้ทางการเมืองของพรรคการเมือง
              และกลุ่มการเมืองที่ยึดโยงกับบริบทพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเนื้อหาของการศึกษาเป็นไปตามแนวทางของ

              วัตถุประสงค์ของการวิจัย ได้แก่ การศึกษาเอกสารที่เน้นการเปรียบเทียบข้อมูล สถิติเกี่ยวกับการเลือกตั้งองค์การบริหาร
              ส่วนจังหวัดเชียงใหม่ในอดีตและปัจจุบัน ข้อมูลผู้สมัครรับเลือกตั้ง ข้อมูลผู้ชนะการเลือกตั้ง ข้อมูลที่น่าสนใจอื่น ๆ
              ในพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเน้นในส่วนที่เป็นสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันที่เชื่อมโยงกับการเลือกตั้งในวันที่
              24 มีนาคม พ.ศ. 2562

                       นอกจากนี้ขอบเขตเนื้อหายังรวมถึง ความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองระดับชาติและการเมืองระดับท้องถิ่นที่

              ส่งผลต่อการต่อสู้แข่งขันและบรรยากาศทางการเมืองของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่และการเลือกตั้ง
              สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด นอกจากนั้นขอบเขตเนื้อหาของการศึกษาวิจัยนี้ยังมุ่งวิเคราะห์รูปแบบวิธีการ






                   โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่   7
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33