Page 27 - kpiebook64008
P. 27
การเลือกตั้ง อบจ. ที่ว่างเว้นมากว่า 6 ปีนับจากรัฐประหารปี 2557 ท าให้มีผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นหน้าใหม่
(อายุ 18-26 ปี) เกิดขึ้นเป็นจ านวนมาก ไม่ต่างจากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี พ.ศ. 2562 ที่เกิดขึ้นในรอบ 8 ปี นับจาก
การเลือกตั้งครั้งสุดท้ายปี พ.ศ.2554 ที่ยอดผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกทะลุ 7.3 ล้านเสียง
ข้อมูลจากส านักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจ าจังหวัดเชียงใหม่ (คณะกรรมการการเลือกตั้ง, 2563)
ระบุว่าประชาชนที่จะออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง อบจ. ทั้ง 76 จังหวัด ต้องมีอายุไม่ต่ ากว่า 18 ปี ในวันเลือกตั้งและมีชื่ออยู่
ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 1 ปี และมีประเด็นส าคัญส าหรับผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่ควรรู้ ดังนี้
- คูหาเลือกตั้งเปิดตั้งแต่ 08.00-17.00 น. ของวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563 มีหน่วยเลือกตั้ง ทั้งหมด
3,131 หน่วย
- เมื่อเดินเข้าหน่วยเลือกตั้งคูหา ให้แสดงหลักฐานบัตรประชาชน หรือบัตรอื่นที่ราชการออกให้แล้วมีเลข
บัตรประชาชน โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะได้รับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ใบแรก กากบาทเลือกนายก อบจ. และ
อีกใบ กากบาทเลือกสมาชิก อบจ.
- ไม่เปิดให้มีการใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า หรือการเลือกตั้งนอกเขตจังหวัด
- หากไม่สามารถไปเลือกตั้งได้ ต้องแจ้งเหตุจ าเป็นต่อนายทะเบียนอ าเภอ/นายทะเบียนท้องถิ่น ภายใน
7 วัน (ก่อนหรือหลังวันเลือกตั้งก็ได้) ไม่เช่นนั้นจะถูกตัดสิทธิทางการเมือง 2 ปี ห้ามสมัครเล่นการเมือง
ทุกระดับและห้ามรับราชการ
การเปลี่ยนแปลงของบริบท กฎหมายและการเมืองไทยส่งผลต่อการจัดการการเลือกตั้งในทุกระดับนับตั้งแต่
การเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2562 จนถึงการเลือกตั้งท้องถิ่น ในระดับ อบจ.ครั้งนี้ การเลือกตั้งเป็น
ปรากฎการณ์ของการท าความเข้าใจการเมืองการปกครองระดับท้องถิ่น โดยเฉพาะการเมืองท้องถิ่นของจังหวัด
เชียงใหม่ ที่ไมใช่แค่ท าความเข้าใจพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง แต่ยังรวมถึงทิศทาง แนวโน้ม
การพัฒนาพรรคการเมือง กลุ่มการเมือง และนักการเมืองในพื้นที่ ที่เชื่อมโยงกับกระบวนการในการก าหนดนโยบาย
สาธารณะระดับจังหวัด ซึ่งในการศึกษาวิจัยนี้มุ่งเน้นการศึกษาข้อมูลเชิงประจักษ์เพื่อท าความเข้าใจการต่อสู้แข่งขันใน
การเลือกตั้งที่น ามาสู่การท าความเข้าใจบริบทการเมืองในจังหวัดเชียงใหม่ เครือข่ายทางการเมืองและพฤติกรรม
ทางการเมืองของประชาชนในช่วงของการเลือกตั้ง
1.3 วัตถุประสงค์การศึกษาวิจัย
1. เพื่อศึกษาและท าความเข้าใจข้อมูล สถิติเกี่ยวกับการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้ง
บรรยากาศทางการเมืองของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่และการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การ
บริหารส่วนจังหวัด
2. เพื่อศึกษารูปแบบ วิธีการในการหาเสียงเลือกตั้งและพฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นและพฤติกรรมทางการเมืองและปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงของผู้มี
สิทธิเลือกตั้งจังหวัดเชียงใหม่
4. เพื่อศึกษาปัญหาและประเด็นส าคัญที่ส่งผลต่อการจัดการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและ
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ 6