Page 26 - kpiebook64008
P. 26

จากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง การท าหน้าที่บริหารที่ได้รับการตรวจสอบถ่วงดุลจากประชาชน
                          ผ่านการเลือกตั้ง ท าให้ประชาชนมีอ านาจทางการเมืองในการสร้างผลประโยชน์ในพื้นที่ได้มากยิ่งขึ้น


                       3.  การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงจะท าให้ประชาชนมีทางเลือกทางการเมืองมากขึ้นทั้งใน
                          ด้านนโยบายและตัวผู้สมัคร โดยเฉพาะในด้านนโยบายมาจากผู้สมัครที่เชื่อมโยงกับท้องถิ่นที่มาความ
                          หลากหลายมากขึ้น จะท าให้ประชาชนมีอ านาจทางการเมืองในการผลักดันผู้สมัครและกลุ่มการเมือง
                          ของตนพยายามพัฒนาแนวนโยบายและคุณสมบัติของผู้สมัครให้ประชาชนพึงพอใจมากขึ้น


                       ดังนั้น การเลือกตั้งโดยตรงจึงเป็นแนวทางส าคัญของหลักประกันการกระจายอ านาจระดับท้องถิ่น
              ทั้งในการบริหารจัดการงบประมาณในการพัฒนาในปีงบประมาณ 2564 รัฐบาลได้จัดสรรงบอุดหนุนให้องค์กร
              ปกครองส่วนท้องถิ่น 90,978.4 ล้านบาท ในส่วนของ อบจ. 76 จังหวัดได้รับงบประมาณตามแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริม
              การกระจายอ านาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วงเงินรวม 28,797.8 ล้านบาท อบจ.สิงห์บุรี เป็น อบจ. ที่ได้รับ

              การจัดสรรงบน้อยสุดที่ 118.8 ล้านบาท หรือคิดเป็นงบ 473 ล้านบาท ตลอด 4 ปี ของวาระในการด ารงต าแหน่ง
              (หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ, 2563) ในขณะที่ อบจ.นครราชสีมา ได้รับการจัดสรรงบสูงสุดถึง 2,303.4 ล้านบาท เท่ากับ
              ว่าจะมีงบกว่า 9,200 ล้านบาทในช่วง 1 เทอมของอ านาจ

                       ความส าคัญของพื้นที่การเมืองในจังหวัดเชียงใหม่ที่ยึดโยงกับการเมืองระดับชาติและงบประมาณใน อบจ.
              ที่บริหารงบประมาณปีละกว่า 2,000 ล้านบาท จังหวัดเชียงใหม่ในฐานะที่เป็นเมืองหลักในการคมนาคมและเศรษฐกิจ

              ของงภาคเหนือตอนบนจึงก่อรูปความสัมพันธ์ของธุรกิจกับการเมืองในพื้นที่ และเป็นที่มาของเครือข่ายความสัมพันธ์
              เชิงอุปถัมภ์ทั้งในการพึ่งพิงและพึ่งพาของกลุ่มการเมืองและกลุ่มทุน การต่อสู้ทางการเมืองในการเลือกตั้งของการเมือง
              ท้องถิ่นจึงมีความเข้มข้น รุนแรงและเป็นการเมืองในเรื่องของงบประมาณและฐานคะแนนเสียง เพราะเชื่อมโยงกับ
              สิทธิในการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของประชาชนโดยตรงในการให้เลือกผู้บริหารท้องถิ่นของตนเอง ดังนั้น

              การบริหารจัดการท้องถิ่นที่ให้ความส าคัญของการกระจายอ านาจเป็นพื้นฐานและให้อิสระ

                       ในการบริหารจัดการและการตัดสินใจจึงเป็นหัวใจส าคัญที่เชื่อว่าจะท าให้ท้องถิ่นมีความเป็นท้องถิ่น
              ตามเจตนารมณ์ของหลักการประชาธิปไตย และยังช่วยแก้ปัญหาระดับโครงสร้างส่วนล่าง เนื่องจากตรงกับความ
              ต้องการของประชาชนและด าเนินการได้อย่างรวดเร็ว อุปสรรคส าคัญที่ดูจะเป็นเงื่อนไขข้อจ ากัดท้องถิ่นยังคงเป็นเรื่อง
              ของโครงสร้างแนวดิ่งและการรวมศูนย์อ านาจที่ยังอยู่ในระดับส่วนกลางและส่วนภูมิภาค การพึ่งพิงรัฐทั้งในเรื่อง

              ระเบียบต่าง ๆ และงบประมาณยังคงท าให้หน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างก้าว
              กระโดดรวดเร็ว

                       การเลือกตั้งพร้อมกันทั้งนายก อบจ. และ ส.อบจ. คือรูปแบบของการมีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ คือ บัตรเลือกตั้ง
              สมาชิกสภาท้องถิ่นตามเขตเลือกตั้งและบัตรเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นหรือ นายก อบจ. ส าหรับ อบจ. มีเขตอ านาจและ
              หน้าที่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัด โดยมีการแยกการเลือกตั้งออกเป็นระดับ ซึ่งให้มีการเลือกตั้ง อบจ. ก่อน เพราะหาก

              ให้เลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ระดับเทศบาล และระดับองค์การบริหารส่วนต าบล (อบต.) พร้อม
              กับการเลือกตั้ง อบจ. จะเกิดความสับสน ทั้งการหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง และการไปใช้สิทธิลงคะแนนของผู้มี
              สิทธิ (ส านักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, 2563)








                   โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่   5
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31