Page 157 - kpiebook63029
P. 157

156      การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเลย








             เป็นพาหนะในการเดินทาง จึงส่งผลให้สามารถใช้เครือข่ายธุรกิจที่มีสนับสนุนการเลือกตั้งในครั้งนี้ได้ ทั้งนี้

             นายเลิศศักดิ์ยังเป็นประธานสโมสรฟุตบอลเมืองเลยยูไนเต็ด และพยายามสร้างความนิยมผ่านเกมกีฬา
             ที่ชาวไทยให้ความนิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มวัยรุ่น คล้ายกับ “บุรีรัมย์โมเดล” ในกรณีของพรรค

             ภูมิใจไทย ที่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า อิทธิพลของนายเนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ยูไนเต็ด
             ได้ส่งผลต่อความนิยมของพรรคภูมิใจไทยในแถบจังหวัดบุรีรัมย์และใกล้เคียง


                      สำาหรับงานศึกษาการเมืองไทยโดยเฉพาะประเด็นของพรรคการเมือง กลุ่มการเมือง การเลือกตั้ง

             ของนักวิชาการต่างประเทศที่น่าสนใจและค่อนข้างทันสมัย คืองานของ James Ockey (2017) เรื่อง
                                                                                                      82
             “Team Work: Shifting Patterns and Relationships in Local and National Politics in Thailand”
             เป็นงานวิจัยที่เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์นักการเมืองทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น นักวิชาการ หัวคะแนน
             ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของสำานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยลงพื้นที่เก็บข้อมูลทั้งหมด 24 จังหวัด

             กระจายทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ในส่วนภาคอีสานจังหวัดที่ลงพื้นที่เก็บข้อมูลมี 6 จังหวัด ได้แก่ บุรีรัมย์
             ขอนแก่น นครราชสีมา มหาสารคาม หนองคาย และอุดรธานี งานชิ้นดังกล่าวนี้ มีข้อค้นพบว่า “โฉมหน้า

             การเมืองไทย” ในปัจจุบัน ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่พรรคการเมืองขนาดใหญ่ (พรรคไทยรักไทย ต่อมา
             คือพรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย) พยายามสร้างนโยบายเพื่อลงไปตอบสนองความต้องการ

             ของประชาชนโดยตรงเพื่อหวังผลคะแนนจากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเป็นสำาคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบ
             บัญชีรายชื่อ อันเป็นลักษณะเฉพาะของระบบการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เปลี่ยนไปเป็น

             การพยายามสร้างการประนีประนอมระหว่างพรรคการเมืองและนักการเมืองท้องถิ่นตลอดจนเครือข่าย
             อุปถัมภ์ของการเมืองท้องถิ่น ในขณะที่ความจงรักภักดีของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งและพรรคการเมือง

             ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการเมืองในระดับท้องถิ่นมากนัก ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นคือ พรรคการเมืองจะเลือก
             “ทำางานเป็นทีม” กับนักการเมืองท้องถิ่น ในลักษณะการหลีกเลี่ยงการสนับสนุนอย่างเป็นทางการ เนื่องจาก

             หากมีการกระทำาผิดกฎหมายจากนักการเมืองท้องถิ่น อาจกระทบถึงขึ้นยุบพรรคการเมือง ทั้งนี้ ผลประโยชน์
             ร่วมกันจะตกอยู่กับทั้งพรรคการเมืองและนักการเมืองท้องถิ่น เนื่องจากการกระจายอำานาจ ส่งผลให้มี

             การกระจายทรัพยากร (โดยเฉพาะงบประมาณ) มายังท้องถิ่น จึงส่งผลให้รูปแบบความสัมพันธ์ที่
             แปรเปลี่ยนไปคือ ทั้งพรรคการเมืองและนักการเมืองท้องถิ่นต่างฝ่ายต่างอุปถัมภ์ซึ่งกันและกัน ผลการวิจัย

             ของ Ockey ทำาให้สามารถอรรถาธิบายพลวัตการเลือกตั้งครั้งนี้ในจังหวัดเลย ในลักษณะที่ว่า พรรคการเมือง
             จะอาศัยนักการเมืองท้องถิ่นในการหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ตระกูลการเมืองที่ทำางานการเมือง

             มาต่อเนื่องยาวนาน” (Perpetuate Family Politics) ในขณะที่นักการเมืองท้องถิ่นก็นำาพรรคการเมือง
             มาเป็น “จุดขาย” ในการหาเสียงเลือกตั้งท้องถิ่นเช่นเดียวกัน ในกรณีการเลือกตั้ง ส.ส.จังหวัดเลย เขต 3

             พรรคภูมิใจไทยได้อาศัย “ตระกูลทิมสุวรรณ” ซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับนายธนาวุฒิ ทิมสุวรรณ
             แม้ความนิยมในพรรคภูมิใจไทยจะไม่มากเท่ากับพรรคเพื่อไทย ทว่าเมื่อเทียบกับบารมี เครือข่ายการเมือง

             ท้องถิ่น และการครอบครองทรัพยากรในองค์กรปกครองท้องถิ่นขนาดใหญ่ (อบจ.) ของตระกูลทิมสุวรรณ


             82  James Ockey, “Team Work: Shifting Patterns and Relationships in Local and National Politics in Thailand,”
             Journal of Social Issues in Southeast Asia 32, 3 (2017): 562-600.
   152   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162