Page 156 - kpiebook63029
P. 156
155
ไม่สอดคล้องกับการสร้างความเป็นสถาบันของพรรคการเมือง คือ “พรรคการเมืองควรตั้งยาก ยุบง่าย” 81
ความไม่สอดคล้องกันทั้งหมดระหว่างงานของสิริพรรณ กับงานวิจัยชิ้นนี้ คือ การสร้าง
พรรคการเมืองแบบเครือข่ายธุรกิจทุนนิยมสมัยใหม่ จริงอยู่ที่พรรคเพื่อไทย (หรือพรรคไทยรักไทยในอดีต)
เป็นพรรคการเมืองที่มีลักษณะดังกล่าวภายใต้การนำาของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ทว่าสำาหรับ
การเลือกตั้งครั้งนี้ ลักษณะของกลุ่มธุรกิจทุนนิยมสมัยใหม่ไม่ได้เด่นชัดมากนัก เนื่องจากมีส่วนผสมของ
เครือข่ายระบบอุปถัมภ์ของการเมืองท้องถิ่นเข้ามา หากพิจารณาเฉพาะผลการเลือกตั้งในจังหวัดเลย พบว่า
ตระกูลทิมสุวรรณ ซึ่งเป็นตระกูลการเมืองเก่าแก่ของจังหวัดเลย มีพื้นฐานการทำาธุรกิจจากการรับงาน
สัมปทานของรัฐตั้งแต่อดีตคือ นายสุรัตน์ ทิมสุวรรณ (ปู่ของนายศรัณย์และนายธนยศ ทิมสุวรรณ ผู้สมัคร
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลยและได้รับการเลือกตั้งในครั้งนี้) เจ้าของกิจการโรงโม่หินในจังหวัดเลย
อีกทั้งยังพยายามสร้างเครือข่ายการเมืองท้องถิ่นผ่านการลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัด โดยเมื่อนายสุรัตน์เสียชีวิต บุตรชาย คือ นายธนาวุฒิ ทิมสุวรรณ ได้กระทำาเช่นเดียวกับบิดา
กระทั่งสามารถสร้างเครือข่ายระบบอุปถัมภ์ท้องถิ่น เพื่อช่วยบุตรชาย คือ ธนยศ ทิมสุวรรณ ให้สามารถ
“ฝ่ากระแสความนิยมของพรรคเพื่อไทย” รวมทั้ง เอาชนะอดีต ส.ส. 9 สมัยอย่างปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข
ลงได้ ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 ออกแบบมาให้ไม่สามารถมีพรรคการเมืองใดพรรคหนึ่ง
ได้รับเสียงข้างมากแต่เพียงพรรคการเมืองเดียว พิจารณาจากผลการเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562
ที่ผ่านมา ไม่มีพรรคการเมืองใดสามารถครองเสียงข้างมากได้อย่างเด็ดขาด และพรรคการเมืองที่ได้รับ
ที่นั่งในระบบแบ่งเขตมากที่สุดอย่างพรรคเพื่อไทยไม่สามารถได้รับจำานวน ส.ส.เพิ่มจากระบบบัญชีรายชื่อได้
เนื่องจากเกณฑ์การคำานวณคะแนนพึงมีทั้งหมด พรรคเพื่อไทยได้รับเลือกตั้ง ส.ส. ในระบบแบ่งเขต
เกินโควตาไปแล้ว ด้วยเหตุดังกล่าวจึงเปิดโอกาสให้มีพรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งเพิ่มมากขึ้น มิพักจะต้อง
กล่าวถึงปัญหาการคำานวณคะแนนการเลือกตั้งที่พรรคการเมืองขนาดเล็กได้รับเลือกตั้งในขณะที่คะแนน
ไม่ถึงคะแนนพึงมีในการคำานวณขั้นแรก และกลายเป็นทางเลือกให้บรรดาผู้ประสงค์รับสมัครเลือกตั้ง
ตัดสินใจลงสมัครในพรรคการเมืองอื่นๆ นอกจากพรรคเพื่อไทย
อย่างไรก็ดี เครือข่ายพรรคการเมืองแบบกลุ่มธุรกิจทุนนิยมสมัยใหม่ ปรากฏให้เห็นได้เช่นเดียวกัน
ในกรณีเขตเลือกตั้งที่ 1 ผู้สมัครรับเลือกตั้งจากพรรคเพื่อไทย คือ นายเลิศศักดิ์ พัฒนชัยกุล มีพื้นฐาน
ครอบครัวที่ประกอบธุรกิจภายในจังหวัดเลยและจังหวัดใกล้เคียงอย่างน่าสนใจ กล่าวคือ ครอบครัวของ
นายเลิศศักดิ์มีธุรกิจสำาคัญคือ ตัวแทนจำาหน่ายรถจักรยานยนต์รายใหญ่ในจังหวัดเลยและจังหวัดใกล้เคียง
ในนาม “พัฒนชัยยนต์กรุ๊ป” แน่นอนว่าคนในชนบทอีสานหรือแม้แต่ประเทศไทย นิยมใช้จักรยานยนต์
81 คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ, ตารางความเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง
พ.ศ. ..., 20 เมษายน 2560, จาก http://cdc.parliament.go.th/draftconstitution2/ewt_dl_link.php?nid=1053&
filename=draftconreleate2