Page 155 - kpiebook63029
P. 155

154      การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเลย







             2.  อภิปรำยผลกำรวิจัย




                      ระบบพรรคการเมืองและการเลือกตั้งในประเทศไทยได้รับการศึกษาจากนักวิชาการทั้งภายใน

             และต่างประเทศ โดยภาพรวมข้อค้นพบจากงานวิจัยและงานวิชาการ พบว่าระบบพรรคการเมืองของไทย
             ไม่ได้มีลักษณะเช่นเดียวกับคำาอธิบายพรรคการเมืองแบบตะวันตก  เช่น งานของสิริพรรณ นกสวน สวัสดี
                                                                      78
             (2549) ชื่อพรรคการเมืองไทยในยุคปฏิรูป  (Thai Political Parties in the Age of Reform) ข้อเสนอของงาน
                                                79
             ชิ้นนี้มีอยู่ 2 ประการ คือ ประการแรก พัฒนาการของพรรคการเมืองไทยไม่ได้สอดคล้องกับแนวคิดของ

             พรรคการเมืองแบบตะวันตก ดังนั้น จึงได้นำาเสนอตัวแบบในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบพรรคการเมืองไทย
             จากพัฒนาการทางการเมืองไทย โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรก พรรคการเมืองภายใต้ระบบราชการ

             ระยะที่สอง ช่วงเวลาแห่งการประนีประนอมกับเครือข่ายการเมืองในชนบท และระยะที่สาม พรรคการเมือง
             ที่ถูกควบคุมโดยเครือข่ายธุรกิจแบบทุนนิยมสมัยใหม่ ประการที่สอง ผลกระทบที่ตามมาจากประเด็นแรก

             ก่อให้เกิดการปรับตัวและการการขยายตัวในความสามารถของพรรคการเมืองทั้งในเรื่องบทบาทและหน้าที่
             ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปรับเปลี่ยนในประเด็นการสรรหานักการเมืองเข้ามาในพรรค โครงสร้างและช่องทาง

             สำาหรับการเลือกตั้ง ตลอดจนการกำาหนดนโยบายของพรรค โดยการเกิดขึ้นของพรรคการเมืองเครือข่าย
             ธุรกิจแบบทุนนิยมสมัยใหม่หรือพรรคไทยรักไทย (ต่อมาคือพรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย ตาม

             ลำาดับ) มีสาเหตุจาก การลดงบประมาณการพัฒนาจังหวัดนำาไปสู่การเสื่อมคลายของเครือข่ายอุปถัมภ์ใน
             ท้องถิ่น กฎเกณฑ์จากรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ซึ่งเอื้อประโยชน์ให้เกิดพรรคการเมืองขนาดใหญ่ การลด

             บทบาทระบบราชการแบบเดิม และความทันสมัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับ
             งานวิจัยชิ้นนี้ พบว่า งานของสิริพรรณ มีทั้งข้อค้นพบที่สอดคล้องและไม่สอดคล้อง กล่าวคือ ในประเด็นที่

             สอดคล้องพบว่า การเลือกตั้งและระบบพรรคการเมืองของไทยภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ตลอดจน
             กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งฯ และพระราช

             บัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ไม่สามารถส่งเสริมให้ระบบพรรคการเมืองของไทย
             ไปสู่สิ่งที่เรียกว่าการเป็นสถาบันทางการเมือง (Political Institution) ได้ เนื่องจากกฎเกณฑ์บางประการ

             ที่ขัดต่อการส่งเสริมความเป็นสถาบันของพรรคการเมือง เช่น เหตุอันนำาไปสู่การยุบพรรคการเมืองนั้น
             มีหลายประการ โดยบางประการมีความคลุมเครือ อาทิ การให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่สมาชิกพรรค ชี้นำา ครอบงำา

             กิจกรรมของพรรค การกระทำาอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
             เป็นประมุข  ที่เป็นเช่นนี้ อาจเป็นเพราะว่าในขั้นตอนการร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
                       80
             พรรคการเมือง ความเห็นของคณะกรรมการร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว ที่มีต่อการยุบพรรคการเมืองที่


             78  Duncan McCargo, “Thailand’s political parties: Real, authentic and actual,” in Political Change in Thailand:
             Democracy and Participation, (ed.) K. Hewison (London and New York: Routledge, 1997): 114–131.
             79  Siripan Nogsuan Sawasdee, Thai Political Parties in the Age of Reform (Bangkok: Institute of Public Policy
             Studies, 2006).
             80  พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พุทธศักราช 2561, ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 135
             ตอนที่ 68 ก (12 กันยายน 2561): 40-97.
   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160