Page 150 - kpiebook63029
P. 150

149








                  3 เขต พบว่า ในเขตเลือกตั้งที่ 1 ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย ยังสามารถทำาคะแนนทิ้งห่างจากลำาดับที่สอง

                  ได้มากที่สุดด้วย


                          เมื่อวิเคราะห์ผลการเลือกตั้งของเขตเลือกตั้งที่ 1 พบว่า ปัจจัยสำาคัญที่ส่งผลต่อการได้รับเลือกตั้ง
                  ของนายเลิศศักดิ์ คือ การสังกัดพรรคการเมืองที่เป็นที่นิยมของชาวอีสานอย่างพรรคเพื่อไทยด้วยนโยบาย

                  ที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนแถบชนบทเป็นอย่างดี อันพิจารณาได้จากตั้งแต่พรรคไทยรักไทย
                  พลังประชาชน และเปลี่ยนมาเป็นเพื่อไทย ส.ส.ที่สังกัดพรรคการเมืองดังกล่าวนี้ ยังคงได้รับความนิยม

                  อย่างไม่เสื่อมคลาย กระทั่งกล่าวได้ว่า พรรคเพื่อไทยเริ่มได้ความจงรักภักดีในเชิงสถาบันการเมืองต่อ
                  ประชาชนผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียง เพราะแม้แต่นายเลิศศักดิ์ ผู้ชนะการเลือกตั้ง ยังให้ความเห็นสำาทับว่า

                  “ถ้าผมลงอนาคตใหม่ก็อาจยังจะแพ้อยู่ เพราะชาวบ้านยังยึดติดกับพรรคเพื่อไทย ผมเลยตัดสินใจอยู่
                  พรรคเพื่อไทยต่อไป” ตลอดจนความกังวลใจของเขา ที่แสดงออกเมื่อครั้งพรรคเพื่อไทยยังไม่สามารถระบุ

                  ตัวผู้รับสมัครเลือกตั้งในเขตจังหวัดเลยทั้ง 3 เขตได้อย่างแน่นอน กระทั่งในเขตเลือกตั้งที่ 2 ซึ่งพรรคเพื่อไทย
                  เลือกนายศรัณย์ ทิมสุวรรณ วางตัวให้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามพรรค โดยให้เลิศศักดิ์ เปลี่ยน

                  การลงสมัครรับเลือกตั้งไปในเขตที่ 1 ซึ่งเขาตกลง ทั้งๆ ที่ฐานคะแนนเสียงอยู่ในเขตอำาเภอวังสะพุง
                  ซึ่งเป็นพื้นที่ของเขตเลือกตั้งที่ 2


                          ปัจจัยสำาคัญอื่นๆ คือ ลักษณะส่วนบุคคลของนายเลิศศักดิ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางยุทธศาสตร์
                  การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง โดยเขาได้เผยต่อผู้วิจัยว่า ความชอบส่วนบุคคลที่มีต่อการเมือง จึงวาง

                  เป้าหมายชีวิตไว้ว่า อนาคตประสงค์ที่จะลงสมัครแข่งขันทางการเมืองให้ได้ในระดับชาติ โดยเริ่ม

                  “ชีวิตทางการเมือง” ผ่านการลงสมัครเป็นนายกเทศมนตรีเมืองวังสะพุง กระทั่งได้รับเลือกตั้งและทำางาน
                  ต่อเนื่องมากว่าสิบปี ทั้งนี้ เห็นโอกาสเหมาะสมในการลงรับสมัครเลือกตั้ง ส.ส. ในครั้งนี้ ถึงแม้ว่า
                  จะไม่ได้อยู่ในเขตเลือกตั้งที่เคยเป็นนายกเทศมนตรีก็ตาม แต่มั่นใจว่าสามารถเอาชนะคู่แข่งสำาคัญจาก

                  อีกสองพรรคการเมืองได้ การวิเคราะห์คู่แข่งขันของนายเลิศศักดิ์ แสดงให้เห็นว่าเขาไม่ได้มีความหนักใจ

                  มากนัก เนื่องจากความนิยมในพรรคเพื่อไทยดังการวิเคราะห์ข้างต้น ประกอบกับลักษณะส่วนบุคคลของ
                  คู่แข่งขันที่มีจุดอ่อน คือ ในกรณีนายทศพล แม้จะเป็นอดีต ส.ส.หลายสมัย ทว่าผลงานที่ผ่านมาไม่ประจักษ์
                  มากนัก ตลอดจนอายุที่เพิ่มมากขึ้น จึงทำาให้ไม่เป็นที่ดึงดูดใจต่อประชาชน ทางด้านนายวันชัย อดีต ส.ส.

                  หนึ่งสมัย เขาเห็นว่า นายวันชัยได้รับเลือกตั้งจากความนิยมของพรรคเพื่อไทย แต่คุณสมบัติส่วนตัวนั้น

                  ไม่มีความโดดเด่นแต่ประการใด การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนเช่นนี้ นายเลิศศักดิ์ยังระบุต่อว่าได้มาจาก
                  การศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจทั้งในระดับปริญญาตรีและโท ทั้งยังช่วยให้เขาสามารถวางแผนในการ
                  รณรงค์หาเสียงเลือกตั้งอย่างทันท่วงทีในระยะเวลาอันจำากัด กล่าวคือ การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งจะใช้

                  วิธีการพิจารณาจากคะแนนของพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งครั้งก่อนจากระดับเขตตำาบลต่างๆ ที่พรรค

                  ได้รับคะแนนเสียงน้อย และจะให้ความสำาคัญกับเขตพื้นที่นั้นๆ ก่อนพื้นที่อื่น เช่น การตั้งเวทีปราศรัย
                  การใช้เวลากับเขตตำาบลนั้นๆ ให้มากกว่าเขตอื่น ผลการเลือกตั้งรายตำาบลของเขตเลือกตั้งที่ 1 พบว่า
                  นายเลิศศักดิ์ ชนะการเลือกตั้งรายเขตตำาบลทุกตำาบล ยกเว้นตำาบลนาอ้อที่พ่ายให้กับผู้สมัครจากพรรค

                  ภูมิใจไทย โดยมีคะแนนเสียงน้อยกว่าเพียง 19 เสียง
   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155