Page 152 - kpiebook63029
P. 152

151








                          ผลการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 3 สร้างความประหลาดใจให้กับประชาชนชาวจังหวัดเลย

                  พอสมควร เนื่องจากนายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข จากพรรคพลังประชารัฐ อดีต ส.ส. 9 สมัย พ่ายการเลือกตั้ง
                  ให้กับ “คนตระกูลทิมสุวรรณ” คือ นายธนยศ ทิมสุวรรณ จากพรรคภูมิใจไทย และที่น่าสังเกตคือ

                  นายธนยศ เป็น “ผู้สมัครรับเลือกตั้งวัยหนุ่ม” รุ่นราวคราวเดียวกัน เป็นลูกพี่ลูกน้อง และลงสมัครรับเลือกตั้ง
                  เป็นครั้งแรกเช่นเดียวกับนายศรัณย์ ทิมสุวรรณ ผู้ชนะการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 2 ยิ่งไปกว่านั้น

                  ความพ่ายแพ้ของนายปรีชายังสามารถกล่าวได้ว่า “หมดรูป” เนื่องจากได้คะแนนเป็นลำาดับที่ 3 และ
                  มีคะแนนตามผู้ชนะเกือบสองหมื่นคะแนน ขณะที่นายสันติภาพ เชื้อบุญมี ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย

                  ได้คะแนนเป็นลำาดับที่สอง กระทั่งกล่าวได้ว่า การเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 3 ของจังหวัดเลยนี้ เป็นเขต
                  “ช้างชนช้าง” อย่างแท้จริง เนื่องจากเป็นการต่อสู้ระหว่างตระกูลทางการเมือง และความนิยมในพรรคการเมือง

                  ควบคู่ไปด้วยกัน ทั้งนี้ ปัจจัยสำาคัญที่เป็นตัวชี้ขาดผลการเลือกตั้ง วิเคราะห์ได้ ดังนี้


                          ประเด็นแรก ชัยชนะของนายธนยศมาจากการมีเครือข่ายการเมืองระดับท้องถิ่น และการ
                  เป็นคนในตระกูลทิมสุวรรณเป็นสำาคัญ พิจารณาจากบิดาของเขาคือนายธนาวุฒิ ทิมสุวรรณ อดีต

                  นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย 4 สมัยติดต่อกัน ตรงกับที่นายธนยศได้ให้ข้อมูลกับผู้วิจัยอย่างตรง
                  ไปตรงมาว่า เขตเลือกตั้งที่ 3 ไม่ได้เป็นฐานเสียงของตระกูลทิมสุวรรณโดยตรง แต่ได้อาศัยชื่อเสียงและ

                  บารมีของตระกูลที่สร้างผลงานให้กับจังหวัดเลยมายาวนาน ตั้งแต่เมื่อครั้งคุณปู่ (นายสุรัตน์ ทิมสุวรรณ
                  อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดคนแรก) และปัจจุบัน เครือข่ายของบิดาใน อบจ.เลย ได้ผลักดัน

                  งบประมาณการพัฒนาจังหวัดผ่านชุมชนต่างๆ และโครงสร้างพื้นฐานจำานวนมาก ตรงกับข้อมูลจาก
                  นักการเมืองท้องถิ่นผู้หนึ่งในจังหวัดเลยที่สรุปได้ว่า เครือข่ายของนายธนาวุฒิ ผู้เป็นบิดานั้น ทำางานผ่าน

                  อบจ.เลย มีการมีการผลักดันการพัฒนาจาก อบจ. เข้าสู่ชุมชนในวงกว้าง เครื่องจักรในการพัฒนาโครงสร้าง
                  พื้นฐานในอยู่ในเขตเลือกตั้งที่ 3 แทบทั้งหมด และมีความมั่นคงเนื่องจากทำางานติดต่อกันเป็นเวลานาน

                  แม้ว่าจะชะงักลงไปในช่วงที่ นายธนาวุฒิถูกสั่งให้ระงับการปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวในตำาแหน่งนายก อบจ.เลย
                  จากคำาสั่ง คสช.ที่ 35/2560 ก็ตาม (ปัจจุบันได้มีคำาสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 11/2562 ให้นายธนาวุฒิ กลับเข้า

                  ปฏิบัติหน้าที่ตามเดิม) ทว่าเครือข่ายที่นายธนาวุฒิสั่งสมมาเป็นระยะเวลายาวนาน สามารถขับเคลื่อน
                  เพื่อเป็น “หัวคะแนน” ให้กับบุตรชายอย่างนายธนยศได้อย่างมีประสิทธิภาพ


                          ประเด็นที่สอง ความพ่ายแพ้ของนายปรีชา กล่าวได้ว่าปัจจัยสำาคัญที่ส่งผลให้นายปรีชาพ่ายแพ้

                  การเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 3 อย่างหมดรูป มาจากสาเหตุสำาคัญสองประการ คือ ประการแรก การย้าย
                  พรรคการเมืองจากพรรคเพื่อไทยไปยังพรรคพลังประชารัฐ เนื่องจากสองพรรคการเมืองนี้มีลักษณะ

                  อุดมการณ์ทางการเมืองที่แบบขั้วตรงข้าม คล้ายกับกรณีในเขตเลือกตั้งที่ 2 ซึ่งภรรยาของนายปรีชา
                  (นางเปล่งมณี) ก็พ่ายแพ้แบบหมดรูปเช่นเดียวกัน ทว่าบารมีของนายปรีชานั้นไม่เหมือนกับภรรยา กล่าวคือ

                  เขาเป็นอดีต ส.ส.จังหวัดเลยถึง 9 สมัย และยังเป็นรัฐมนตรีในกระทรวงสำาคัญๆ ดังนั้น จึงพอจะมีชื่อเสียง
                  เป็นที่รู้จักของคนในจังหวัดเลยแทบทุกรุ่นอายุ กระนั้นก็ดี การย้ายพรรคด้วยเหตุผลแบบ “ฟังไม่ขึ้น”

                  โดยระหว่างการรณรงค์หาเสียง เขากล่าวกับผู้เข้าร่วมฟังปราศรัยในทำานองที่ว่า ตนนั้นไม่ได้ “ขายตัว”
   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157