Page 153 - kpiebook63029
P. 153

152      การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเลย








             ให้กับพรรคพลังประชารัฐ แต่เป็นกระบวนการที่สามารถทำาได้ตามกฎหมายเลือกตั้ง คำาตอบที่ไม่ตรง

             กับคำาถามเช่นนี้จึงอาจทำาให้ประชาชนพิจารณาได้ว่านายปรีชาไม่ได้ให้ความสำาคัญกับอุดมการณ์ของ
             พรรคการเมืองแต่ประการใด ในขณะที่พรรคเพื่อไทยกำาลังจะกลายเป็นสถาบันทางการเมืองในระบบ

             การเมืองไทย สาเหตุประการต่อมาคือ การที่ว่างเว้นจากการเลือกตั้งและกิจกรรมทางการเมืองโดย
             นักการเมืองมาเป็นเวลานานกว่า 5 ปี ผู้ให้สัมภาษณ์หลายคน ทั้งนักการเมืองท้องถิ่น ผู้นำาชุมชน ประชาชน

             ผู้สนใจทางการเมืองในจังหวัดเลย กล่าวตรงกันว่า การรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
             ในเดือนพฤษภาคม ปี 2557 ได้นำาไปสู่การงดเว้นกิจกรรมทางการเมืองที่จัดขึ้นโดยนักการเมือง และ

             การ “เก็บตัว” ที่ค่อนข้างเงียบของนายปรีชาและภรรยา ผู้นำาท้องถิ่นท่านหนึ่งให้ข้อมูลต่อไปว่า เขาและ
             ภรรยาใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ที่กรุงเทพฯ เนื่องจากไม่สามารถดำาเนินกิจกรรมทางการเมืองได้ จึงส่งผลให้

             การดำาเนินกิจกรรมทางการเมืองของนายปรีชาในจังหวัดเลยหายไปด้วย ขณะที่ตระกูลทิมสุวรรณได้สร้าง
             เครือข่ายการเมืองท้องถิ่นอย่างเหนียวแน่น จึงทำาให้สามารถดำาเนินกิจกรรมทางการเมืองท้องถิ่นได้อย่าง

             ต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาเดียวกัน


                      ความพ่ายแพ้ของนายปรีชา ข้างต้นหากนำาข้อมูลคะแนนผลการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัด
             เลย ในบทที่ 5 มาวิเคราะห์ พบว่า ในการเลือกตั้งปี 2554 นายปรีชาเลือกที่จะลงรับสมัครเลือกตั้งใน

             เขตเลือกตั้งที่ 1 ประกอบไปด้วย อำาเภอเมืองเลย อำาเภอท่าลี่ และอำาเภอภูเรือ (บางส่วน) โดยให้ภรรยา
             ลงรับสมัครเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 3 ประกอบไปด้วย อำาเภอนาแห้ว อำาเภอด่านซ้าย อำาเภอภูเรือ

             (บางส่วน) และอำาเภอวังสะพุง (ส่วนใหญ่) อย่างไรก็ดี เนื่องจากการเลือกตั้งในครั้งนี้จังหวัดเลยแบ่งเขต
             การเลือกตั้งเป็น 3 เขต จึงทำาให้นายปรีชาเลือกที่จะลงรับสมัครเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 3 ประกอบด้วย

             อำาเภอนาแห้ว อำาเภอด่านซ้าย อำาเภอภูเรือ อำาเภอท่าลี่ อำาเภอเชียงคาน อำาเภอวังสะพุง (ในส่วนที่
             ไม่รวมกับเขตเทศบาลเมืองวังสะพุง) กล่าวได้ว่า เขตเลือกตั้งที่ 3 นั้น เป็นฐานเสียงส่วนใหญ่ของภรรยา

             ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2554 และอำาเภอท่าลี่ อำาเภอภูเรือ (บางส่วน) เคยอยู่ในเขตเลือกตั้งที่ 1 ซึ่งปรีชา
             เคยเป็น ส.ส. มาก่อน การแบ่งเขตเลือกตั้งในลักษณะนี้เอง ที่อาจเป็น “แรงเสริม” ให้นายปรีชาพิจารณาว่า

             แม้จะย้ายพรรคมาสังกัดพรรคพลังประชารัฐ ทว่าฐานเสียงในเขตเลือกตั้งเคยเป็นของตระกูลเร่งสมบูรณ์สุข
             มาก่อน อีกทั้งอำาเภอท่าลี่ อำาเภอภูเรือ (บางส่วน) ซึ่งตนเคยเป็น “เจ้าของพื้นที่” ยังถูกผนวกรวมกับ

             เขตเลือกตั้งที่ 3 ด้วย ดังนั้น การย้ายเขตเลือกตั้งมายังเขต 3 จึงน่าจะเป็นกลยุทธที่เหมาะสมที่สุด ทว่า
             ผลการเลือกตั้งกลับไม่เป็นไปตามที่คาดหวังเอาไว้ เนื่องจากเขตอำาเภอท่าลี่ นายธนยศจากพรรคภูมิใจไทย

             สามารถเอาชนะได้ 3 ตำาบล จากทั้งหมด 6 ตำาบล โดยนายปรีชาได้รับคะแนนเสียงเป็นลำาดับที่สาม มิพัก
             จะต้องกล่าวถึง ผลการเลือกตั้งจากอำาเภอภูเรือ (บางส่วน) นายธนยศสามารถเอาชนะได้ทั้ง 6 ตำาบล โดย

             นายปรีชาได้รับคะแนนเสียงเป็นลำาดับที่สาม ในส่วนพื้นที่ที่แต่เดิมนายปรีชาคิดว่าเคยเป็นฐานคะแนนเสียง
             ของภรรยา คือ อำาเภอด่านซ้าย ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า นายธนยศชนะการเลือกตั้งจากทุกตำาบล โดย

             นายปรีชาได้คะแนนมาเป็นลำาดับที่สอง (คะแนนทิ้งห่างกว่า 5,000 คะแนน) เช่นเดียวกับอำาเภอวังสะพุง
             (บางส่วน) ที่นายธนยศชนะทุกตำาบล อำาเภอภูเรือ (บางส่วน) นายธนยศชนะการเลือกตั้ง 5 ตำาบลจาก
   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158