Page 158 - kpiebook63029
P. 158

157








                  ส่งผลให้นายธนยศ ลูกชายของนายธนาวุฒิ ที่เพิ่งลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. เป็นครั้งแรก สามารถเอาชนะ

                  คู่แข่งคนสำาคัญจากพรรคเพื่อไทย และอดีต ส.ส.หลายสมัยจากพรรคพลังประชารัฐได้


                          งานวิจัยที่เกี่ยวข้องของนักวิชาการไทยที่น่าสนใจและค่อนข้างทันสมัย คืองานของเวียงรัฐ
                                                                                                          83
                  เนติโพธิ์ (2558) เรื่อง หีบบัตรกับบุญคุณ: การเมืองการเลือกตั้งและการเปลี่ยนแปลงเครือข่ายอุปถัมภ์
                  งานชิ้นนี้มีข้อเสนอสำาคัญสองประการคือ ประการแรก ระบบพรรคการเมืองที่เข้มแข็ง สนับสนุนให้เกิด
                  กลไกแบบจักรกลทางการเมือง อันมีลักษณะการสร้างเครือข่ายฐานคะแนนเสียงที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน

                  ภายใต้ “ร่มธง” ของพรรคการเมือง กล่าวคือ พรรคการเมืองนั้นได้สร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ผ่าน
                  การเลือกตั้งทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ซึ่งแตกต่างไปจากรูปแบบอุปถัมภ์แบบเดิม ที่เป็น

                  ความสัมพันธ์ต่างตอบแทนและไม่เท่าเทียมกันระหว่างผู้อุปถัมภ์และผู้รับอุปถัมภ์ ประการที่สอง
                  การจัดตั้งเครือข่ายทางการเมืองแบบจักรกลในประการแรก ได้ก่อให้เกิดพลวัตใหม่ของระบบอุปถัมภ์

                  ซึ่งทำาให้เกิดการเคลื่อนไหวทางสังคม (Social Mobility) ทั้งในแง่ของชนชั้นทางการเมือง อุดมการณ์ทาง
                  การเมือง ความเข้าใจอำานาจรัฐ ตลอดจนสำานึกความเป็นพลเมืองผ่านการเลือกตั้ง ผลการวิจัย พบว่า

                  ความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองและพรรคการเมือง และระหว่างนักการเมืองด้วยกัน มีความเปลี่ยนแปลง
                  น้อย กล่าวคือ ความพยายามในการรักษาสถานภาพเดิม และกระบวนการตัดสินในคัดเลือกผู้นำา

                  ในนามของพรรคการเมือง ด้านความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองกับหัวคะแนน เป็นไปในรูปแบบที่มี
                  ความเชื่อมโยงกับการเมืองท้องถิ่นมากขึ้น โดยมีปัจจัยสำาคัญที่เป็นโครงสร้างในการกำาหนดรูปแบบ

                  ความสัมพันธ์ดังกล่าวคือ ระบบราชการ อันส่งผลกระทบต่อนักการเมืองในลักษณะของการต่อรองและ
                  การอาศัยระบบดังกล่าวเพื่อรักษาอำานาจเดิม ทว่าการรัฐประหารทำาให้นักการเมืองที่อาศัยระบบราชการ

                  มีความได้เปรียบมากขึ้น สุดท้ายในระดับประชาชน แบบแผนการตัดสินใจของประชาชนเปลี่ยนไปจาก
                  ที่เคยอยู่ในรูปแบบความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ผ่านการซื้อสิทธิขายเสียงเป็นหลัก เปลี่ยนไปในรูปแบบของ

                  การพิจารณาจากการทุ่มเทของนักการเมืองในเขตเลือกตั้งนั้นๆ อาทิ ความสนิทสนมคุ้นเคย การเข้าถึง
                  ชาวบ้าน การช่วยเหลือผ่านงานพิธีต่างๆ ทั้งนี้ ความเปลี่ยนแปลงอีกประเด็นหนึ่งที่มีความสำาคัญคือ

                  ปรากฏการณ์ของพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้งปี พ.ศ.2544 และ 2548 ได้ทำาให้แบบแผนการตัดสินใจ
                  ของประชาชนมุ่งไปที่นโยบายของพรรคการเมืองมากขึ้น หรืออาจกล่าวได้ว่าความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

                  มีลักษณะในเชิงสถาบัน


                          เมื่อพิจารณาจากงานข้างต้นกับการเลือกตั้งในจังหวัดเลย พบว่า โดยภาพรวมมีความสอดคล้อง
                  กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นด้านความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองกับพรรคการเมือง เนื่องจากระบบ
                  การสรรหาผู้สมัครในนามพรรคการเมืองโดยเฉพาะพรรคใหญ่อย่างเช่นในกรณีพรรคเพื่อไทย เป็นการ

                  ตกลงและการประนีประนอมผลประโยชน์ของชนชั้นนำาทางการเมืองในจังหวัดเท่านั้น ผลการวิจัย

                  ทำาให้ทราบว่า เครือข่ายกลุ่มผลประโยชน์ขนาดใหญ่ภายในจังหวัดคือ เครือข่ายของตระกูลทิมสุวรรณ


                  83  เวียงรัฐ เนติโพธิ์, หีบบัตรกับบุญคุณ: การเมืองการเลือกตั้งและการเปลี่ยนแปลงเครือข่ายอุปถัมภ์, (เชียงใหม่:
                  ศูนย์ศึกษาอาเซียน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2558).
   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163