Page 161 - kpiebook63029
P. 161
160 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเลย
การนำาไปศึกษาต่อโดย Elin Bjarnegard (2013) ชื่อ “Who’s the perfect politician? Clientelism
as a determining feature of Thai politics” พบว่า ระบบพรรคการเมืองของไทยสามารถอธิบายได้
85
อย่างเหมาะสมกับตัวแบบ “สถาบันทางการเมืองที่ไม่เป็นทางการ” โดยระบบอุปถัมภ์ยังคงเป็นตัวกำาหนด
การแข่งขันในการเมืองไทย ส่งผลให้พรรคการเมืองไม่สามารถพัฒนาไปเป็นสถาบันทางการเมืองอย่างเช่น
ในตะวันตกได้ เนื่องจากระบบดังกล่าวนี้ ได้สร้างลักษณะของโครงสร้างอย่างไม่เป็นทางการให้กับ
พรรคการเมือง เช่น ตัวแทนการรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคการเมืองขนาดใหญ่
อย่างพรรคไทยรักไทย และพรรคประชาธิปัตย์ มักคัดเลือกจากเครือข่ายระบบอุปถัมภ์ที่มีความสัมพันธ์
กับนักการเมืองท้องถิ่นในเขตเลือกตั้งของตน นอกจากนี้ภายในพรรคการเมืองแต่ละพรรค (โดยเฉพาะ
พรรคขนาดใหญ่) ยังเต็มไปด้วยกลุ่มการเมืองภายในพรรค หรือ “มุ้ง” (Political Faction) ทำาให้การดำาเนิน
งานของพรรค ถูกขับเคลื่อนไปด้วยกลุ่มดังกล่าวหรือแม้กระทั่งตัวบุคคลที่มีบารมีภายในพรรค งานชิ้นนี้
ยังสอดคล้องกับงานของ Ockey ที่กล่าวตอนหนึ่งว่า พรรคไทยรักไทย (หรือเพื่อไทย) ไม่ได้ให้ความสำาคัญ
กับการขยายสาขาพรรคการเมืองไปยังภูมิภาคต่างๆ ในลักษณะเป็นทางการ ทว่าการติดต่อระหว่าง
ส่วนกลางของพรรค เป็นไปในลักษณะไม่เป็นทางการ โดยใช้สำานักงานของ ส.ส. ในเขตเลือกตั้งนั้นๆ
เป็นศูนย์ประสานงาน ซึ่งพิจารณาได้ว่า การให้ความสำาคัญในตัวบุคคลที่อยู่ในระบบเครือข่ายอุปถัมภ์
ในการคัดเลือกเพื่อส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งยังคงเป็นลักษณะสำาคัญของภูมิทัศน์การเมือง (Political
Landscape) ของไทย ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเฉพาะผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตจังหวัดเลยพบว่า ผู้สมัครที่ได้
คะแนนเสียงมากที่สุดสามลำาดับแรก ดังตารางที่ 35 มีคุณลักษณะเช่นเดียวกันนี้เกือบทั้งหมด
85 Elin Bjarnegard, “Who’s the Perfect Politician?: Clientelism as a determining feature of Thai politics”, in Party
Politics in Southeast Asia : Clientelism and Electoral Competition in Indonesia, Thailand and the Philippines,
(eds.) D.Tomza and A. Ufen (Abington, Oxon: Routledge, 2013): 142–162.