Page 160 - kpiebook63029
P. 160

159








                  เมื่อพิจารณาจากการสัมภาษณ์ประชาชนทั่วไป พบว่า พวกเขายังจดจำานโยบายของพรรคดังกล่าวได้

                  เป็นอย่างดี ตลอดจนส่งผลให้พฤติกรรมในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเปลี่ยนแปลงไปจากในช่วงก่อน
                  หน้าการเลือกตั้งในปี 2548 คือ เริ่มที่จะพิจารณาจากนโยบายของพรรคการเมืองที่เล็งเห็นผลในทาง

                  ปฏิบัติ ความสามารถในการตอบสนองต่อปัญหาในชีวิตประจำาวัน และการเอาใจใส่ประชาชนในพื้นที่
                  เขตเลือกตั้งของตน


                          ประเด็นสุดท้ายคือ ความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองกับประชาชน พบว่า การเลือกตั้งสมาชิก

                  สภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลยครั้งนี้ ประชาชนตัดสินใจเลือกผู้สมัคร ส.ส. จากเหตุผลสองประการ คือ
                  ระหว่างคุณสมบัติส่วนบุคคลโดยพิจารณาจากการเป็นบุคคลในตระกูลสำาคัญที่สร้างประโยชน์กับตน และ

                  พรรคการเมืองที่นิยมอย่างพรรคเพื่อไทย ด้านพฤติกรรมการซื้อสิทธิขายเสียงพบบ้าง ทว่าประชาชน
                  จะไม่เอ่ยชื่อพรรคการเมืองโดยตรง และให้ข้อมูลเพิ่มเติมในลักษณะที่ว่า ตนนั้นรับรู้และเข้าใจว่า

                  การเมืองเป็นอย่างไร พรรคใดหรือบุคคลใดที่ให้ผลประโยชน์ก็รับไว้ แต่ก็ใช่ว่าต้องเลือกพรรคนั้นหรือ
                  บุคคลนั้นเสมอไป เนื่องจากมีพรรคการเมืองที่นิยมอยู่แล้ว กล่าวได้ว่าการซื้อเสียงไม่ได้เป็นปัจจัยสำาคัญ

                  สำาหรับการเลือกตั้งของจังหวัดเลย เนื่องจากประชาชนพิจารณาจากปัจจัยอื่นๆ เช่น การลงพื้นที่หาเสียง
                  การเข้าถึงประชาชน การทำาประโยชน์ให้กับส่วนรวม เป็นต้น ทั้งนี้ ระบบเลือกตั้งที่ออกแบบให้มีบัตรเลือกตั้ง

                  เพียงหนึ่งใบ ทำาให้การตัดสินใจลงคะแนนเสียงของประชาชนมีความซับซ้อนมากขึ้นไปด้วย เนื่องจากต้อง
                  พิจารณาจากปัจจัยหลายประการรวมกัน


                            คำาถามที่น่าสนใจคือ ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดเลยในครั้งนี้ สามารถ

                  อธิบายในเชิงทฤษฎีได้หรือไม่ และอย่างไร แน่นอนว่า ในเบื้องต้นทฤษฎีการอธิบายพรรคการเมืองตาม
                  แนวทางตะวันตกไม่สามารถอธิบายได้อย่างเหมาะสม ดังนั้น แนวทางในการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมือง
                  จึงอาจต้องเทียบเคียงกับบริบทที่มีลักษณะคล้ายกัน ดังเช่นบริบทของการเป็นประเทศกำาลังพัฒนา ทั้งนี้

                  งานที่น่าสนใจในการอธิบายผลการเลือกตั้งของจังหวัดเลย และอาจรวมถึงประเทศไทย คือ งานของ Flavia

                  Freidenberg และ Steve Levitsky (2006) ชื่อ “Informal Institutions and Party Organization in Latin
                  America”  เป็นการศึกษาพรรคการเมืองในละตินอเมริกา ส่วนใหญ่เป็นประเทศกำาลังพัฒนาเช่นเดียวกับ
                          84
                  ประเทศไทย ข้อค้นพบของทั้งสอง คือ พรรคการเมืองในละตินอเมริกาในช่วงทศวรรษ 1990 มีลักษณะ

                  การเป็นสถาบันที่ไม่เป็นทางการ (Informal Institution) กล่าวคือ พรรคการเมืองมีลักษณะโครงสร้างที่เป็น

                  ทางการอ่อนแอ เช่น มีการเปลี่ยนแปลงกติกาที่ใช้ในการแข่งขันทางการเมืองหลายครั้งและไม่มีความแน่นอน
                  การตัดสินใจของพรรคการเมืองอาศัยผู้มีอำานาจทางการเมืองที่ไม่ได้อยู่ภายใต้โครงสร้างของพรรคอย่าง
                  เป็นทางการ อำานาจการตัดสินใจอยู่ที่ศูนย์กลางของพรรค ขอบเขตโครงสร้างองค์การของพรรคการเมือง

                  ไม่ชัดเจน ทำาให้อำานาจการตัดสินใจตกอยู่กับบุคคลหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในพรรค เป็นต้น งานชิ้นนี้ ได้รับ



                  84  Flavia Freidenberg and Steve Levitsky, “Informal Institutions and Party Organization in Latin America”,
                  in Informal institutions and democracy: Lessons from Latin America, (eds.) G. Helmke and S. Levitsky (Baltimore:
                  The Johns Hopkins University Press, 2006): 178-197.
   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164   165