Page 159 - kpiebook63029
P. 159

158      การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเลย








             ซึ่งสะสมทุนมาเป็นเวลายาวนานตั้งแต่รุ่นปู่ (สุรัตน์ ทิมสุวรรณ) ในปัจจุบันเครือข่ายนี้ มีฐานอำานาจ

             ทางการเมืองที่สำาคัญทั้งในระดับชาติผ่านการได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใน 2 จากทั้งหมด
             3 เขตเลือกตั้ง และการครองอำานาจอย่างยาวนานในการเมืองท้องถิ่นผ่านองค์การบริหารส่วนจังหวัด

             หากพิจารณาในอดีต พบว่า การสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และผู้บริหาร
             ในองค์กรปกครองท้องถิ่นขนาดใหญ่ มักได้รับการสนับสนุนและเห็นชอบจากตระกูลดังกล่าวเสมอ แม้

             กระทั่งปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข อดีต ส.ส. 9 สมัย และทศพล สังขทรัพย์ ก็มีเส้นทางการเมืองและเติบโต
             มาจากเครือข่ายตระกูลทิมสุวรรณ สำาหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ พบว่า การประนีประนอมในผลประโยชน์

             ผ่านการจัดสรรการลงสมัครรับเลือกตั้งในเขต 1 และเขต 2 ในนามพรรคเพื่อไทย กล่าวคือ สำาหรับเขต 1
             ส.ส.เดิมของพรรคเพื่อไทยย้ายไปสังกัดพรรคการเมืองอื่น จึงทำาให้พรรคต้องสรรหาผู้สมัครรายใหม่ ทว่า

             ในเขต 2 มีผู้สมัครที่มีศักยภาพและคาดว่าจะได้รับเลือกตั้งถึง 2 คน คือ ศรัณย์ ทิมสุวรรณ และเลิศศักดิ์
             พัฒนชัยกุล โดยทั้งสองมีฐานเสียงส่วนใหญ่ในเขตอำาเภอวังสะพุง ด้วยเหตุดังกล่าว การต่อรองและ

             ประนีประนอมผลประโยชน์จึงเกิดขึ้น ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชนแต่อย่างใด ผลปรากฏ
             ว่าเลิศศักดิ์ อดีตนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองวังสะพุง ได้รับการจัดสรรให้เป็นผู้สมัครของพรรคในเขต 1

             ส่วนศรัณย์ ที่ลง “เล่นการเมือง” เป็นครั้งแรกในขณะที่อายุยังไม่ถึงสามสิบปีนั้น ได้รับการจัดสรรให้เป็น
             ผู้สมัครในเขต 2 เนื่องจากพรรคและเครือข่ายกลุ่มการเมืองในจังหวัด พิจารณาแล้วว่า หากจะให้ศรัณย์

             ไปลงแข่งขันในเขต 1 อาจ “พลาดท่า” ให้กับผู้สมัครที่มีประสบการณ์สูงอย่างทศพล สังขทรัพย์ และ
             อดีต ส.ส.อีกคนหนึ่ง คือ วันชัย บุษบา ทว่าหากเป็นเลิศศักดิ์ ด้วยเครือข่ายกลุ่มธุรกิจที่มีอย่างกว้างขวาง

             ในเขตอำาเภอเมือง บุคลิกภาพดี มีประสบการณ์ด้านการเมือง และเป็นนักวางยุทธศาสตร์ จะสามารถ
             รับมือกับผู้สมัครจากพรรคการเมืองอื่นได้ นอกจากนี้ปัจจัยสำาคัญที่ทำาให้พรรคเพื่อไทยเลือกเลิศศักดิ์

             เป็นตัวแทน คือ ความพร้อมด้านการเงิน ที่ทำาให้พรรคไม่ต้องสนับสนุนมากนัก


                      ด้านความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองระดับชาติกับนักการเมืองท้องถิ่น จากข้อสังเกตของ
             เวียงรัฐ ในสถานการณ์หลังการรัฐประหาร พ.ศ.2549 คือ ลักษณะของการเลือกตั้งที่ไม่มั่นคงและ

             ต่อเนื่อง ทำาให้เครือข่ายการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดเลยไม่ได้ผูกมัดตนเองเข้ากับพรรคการเมืองใดโดย
             เฉพาะ พิจารณาจากเครือข่ายตระกูลทิมสุวรรณ ในเขตเลือกตั้งที่ 2 และ 3 ในกรณีเขตเลือกตั้งที่ 2 ศรัณย์

             ทิมสุวรรณ เลือกที่จะลงรับสมัคร ส.ส.ในนามพรรคเพื่อไทย ส่วนธนยศ ทิมสุวรรณ เลือกสังกัด
             พรรคภูมิใจไทย และทั้งสองได้รับเลือกตั้ง ในขณะที่ธนยศ ต้องแข่งขันกับผู้สมัครที่มีศักยภาพถึง 2 คน

             คือ ปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข อดีต ส.ส. 9 สมัยจากพรรคพลังประชารัฐ และสันติภาพ เชื้อบุญมี ผู้สมัครจาก
             พรรคเพื่อไทย ทั้งนี้เป็นเพราะเครือข่ายการเมืองท้องถิ่นของผู้เป็นบิดา (ธนาวุฒิ ทิมสุวรรณ) ที่มีครอบคลุม

             ทั่วทั้งจังหวัดผ่านองค์การบริหารส่วนจังหวัด สามารถจัดการฐานคะแนนเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
             เนื่องจากบรรดาหัวคะแนนส่วนใหญ่เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดในเครือข่าย และได้รับ

             ผลประโยชน์ต่อเนื่องผ่านโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่อยู่ในงบประมาณของ อบจ. ตลอดจน
             การช่วยเหลือและสนับสนุนงบประมาณเมื่อมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด

             ในแต่ละครั้ง กระนั้นก็ดี ความนิยมต่อพรรคเพื่อไทยของประชาชนในจังหวัดยังปรากฏให้เห็นอยู่บ้าง
   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164